การเพาะพันธุ์ปลา |
|
|
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากดเหลือง
|
ลักษณะทั่วไป
ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง
มีราคาดี เนื้อมีรสชาติดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในรูปสดและแปรรูป
เช่น แกงเหลือง ฉุ่ฉี่ และย่าง ฯลฯ มีชื่อสามัญ Green
Catfish และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mytus nemurus ได้รับการตั้งชื่อครั้งแรกโดย
Cuvier และ Valencieness ในปี 2436 ปลากดเหลืองมีการเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
ซึ่งชาวประมงแถบจังหวัดกาญจนบุรี เรียกว่า ปลากดกลางหรือปลากลาง
แถบจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลืองแถบจังหวัดสุราษฐฎร์ธานีเรียกว่า
ปลากดฉลอง แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เรียกว่า อีแกบาวง
แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง
|
การแพร่กระจาย
ปลากดเหลือง พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำจืดทั่วไปของทวีปเอเซีย
ตั้งแต่เอเชียตะวันตก ได้แก่ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน
และบังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เมียนาร์
ไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา เวียดนาม
มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทย พบแพร่กระจายในแหล่งน้ำธรรมชาติ
และอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น ภาคเหนือพบในลำน้ำกก
ปิง วัง ยมน่าน กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด เขื่อนภูมิพล
เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนกิ่วลม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำมูล
แม่น้ำโขงและสาขาในเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำตะคอง
ภาคกลาง พบในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง
แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์และแก่งกระจาน
ภาคใต้พบในแม่น้ำตาปี ปัตตานี สายบุรี บางนรา โก-ลก
และสาขาบริเวณปากแม่น้ำ ย่านน้ำกร่อยบริเวณชายฝั่งก็สามารถพบปลากดเหลือได้
นอกจากนี้พบในทะเลน้อย ทะเลสาบสงขลาและพรุต่าง ๆ เช่น
พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส พรุควนเคร็งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
|
อุปนิสัย
ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหิน หรือเป็นพื้นดินแข็ง
น้ำค่อนข้างใส่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก พบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่
2-40 เมตร
ทั้งยังชอบหาอาหารบริเวณที่น้ำจากต้นน้ำเหนือเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำไหลมาบรรจบกับบริเวณแนวน้ำนิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณปากแม่น้ำซึ่งมีน้ำจืบไหลปะทะกับแนวน้ำเค็ม
มีกุ้ง ปลา ปู หอย ค่อนข้างสมบูรณ์ ชาวประมงมักจับปลากดเหลืองได้มากในบริเวณดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ปลากดเหลืองสามารถที่จะปรับตัวให้เจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำพรุ
ที่มีความเป็นกรดสูงและมีปริมาณสารแขวนลอยมาก
|
รูปร่างลักษณะ
ปลากดเหลืองสามารถเจริญเติบโต และอยู่อาศัยได้ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย
แต่ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องน้ำที่เป็นแอ่งหิน หรือเป็นพื้นดินแข็ง
น้ำค่อนข้างใส่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก พบอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่
2-40 เมตร
ปลากดเหลืองเป็นปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนเรียวเป็นรูปกรวย
(conical) กระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลัง ตาไม่มีหนังปกคลุม
ปากกว้าง ขากรรไกรแข็งแรง มีฟันซี่เล็ก ๆ สั้นปลายแหลมเป็นกลุ่ม
หรือเป็นแผ่นบนขากรรไกรบน ขากรรไกรล่าง และบนเพดานปากซี่กรองสั้นเล็กปลายแหลม
มี 15 ซี่ มีหนวด 4 คู่คือที่บริเวณจมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง
และใต้คางอย่งละ 1 คู่ ซึ่งหนวดคู่แรกและหนวดคู่สุดท้าย
จะมีความยาวสั้นกว่าหนวดคู่ที่สองและคู่ที่สาม
ครีบหลังไม่สูงเป็นครีบเดี่ยวอยู่กลางหลัง มีก้านครีบแข็ง
1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้าน ครีบไขมันเจริญดีอยู่บนหลังตามส่วนท้ายของลำตัว
และอยู่ตรงข้ามกับครีบก้น ครีบก้นมีก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน
ครีบหูเป็นครีบคู่อยู่หลังบริเวณเหงือก มีเงี่ยงแข็งและแหลมคม
1 คู่ มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบอ่อน
6-7 ก้าน ครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างประกอบด้านก้านครีบอ่อน
16-17 ก้าน
ลักษณะสีของลำตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุ ขนาด และแหล่งที่อยู่อาศัย
ปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัย ลำตัวบริเวณส่วนหลังมีสีน้ำตาลเข้มปนดำ
บริเวณข้างลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง บริเวณส่วนท้องมีสีขาว
ฐานครีบอก ครีบท้อง ครีบก้น มีสีเทาเจือชมพู ครีบหลัง ครีบหางมีสีเขียวซีดจาง
ปลายครีบมีสีเทาปนดำ ดวงตามีขนาดปลานกลาง
ปลากดเปลือที่พบโดยทั่วไปมีขนาด 20-25 เซนติเมตร แต่เคยพบขนาดใหญ่สุดกว่า
60 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีกระเพาะลม ซึ่งมีลักษณะกระเพาะลมตอนเดียวคล้ายรูปหัวใจ
ทำหน้าที่ช่วยในการทรงตัวใช้ ปรับความถ่วงจำเพาะของตัวปลาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
เพื่อให้สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำที่ระดับต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ
|
นิสัยการกินอาหาร
ปลากดเหลืองมีกระเพาะอาหาร ที่มีลักษณะเป็นถุงตรงยาว ผนังหนาสีขาวขุ่น
นิสัยการกินอาหารในธรรมชาติได้แก่ ปลาขนาดเล็ก ตัวอ่อนแมลงหรือแมลงในน้ำ
กุ้งน้ำจืด เศษพันธุ์ไม้น้ำ และหอยฝาเดียว เป็นต้น จากลักษณะรูปร่างที่ปราดเปรียวของปลากดเหลือง
พบว่า จะโฉบจับเหยื่อที่อยู่ผิวน้ำหรือกลางน้ำได้อย่างว่องไว
โดยจะหากินในช่วงกลางคืนได้ดีกว่าช่วงกลางวัน
|
การสืบพันธุ์ |
ลักษณะเพศ
ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลากดเหลืองเพศผู้กับเพศเมียมีดังนี้
ลักษณะตัวผู้ |
ลักษณะตัวเมีย |
1.
ลำตัวจะมีลักษณะเรียงยาว |
1.
ลำตัวจะมีลักษณะป้อมสั้น |
2.
อวัยวะเพศที่เรียกว่า genital papillae ยื่นออกมาประมาณ
1 เซนติเมตร
จะมีลักษณะเป็นติ่ง เรียวยาว และแหลมตอนปลาย |
2.
อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นรูกลม |
3.
ในฤดูผสมพันธุ์ เมื่อรีดจากส่วนท้อง จะมีน้ำเชื้อไหลออกมาลักษณะมีสีขาวขุ่น
|
3.
ในฤดูผสมพันธุ์จะมีส่วนท้องบวม เป่ง นูนออกมาทางด้านข้างทั้ง
สองข้าง และช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ |
ปริมาณความดกของไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปลากดเหลือง ปลาเพศเมียที่พบเริ่มมีไข่แก่และสืบพันธุ์วางไข่ได้มีความยาวตั้งแต่
18 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศผู้ความยาวเฉลี่ย
28.56 เซนติเมตร
แม่ปลาขนาดความยาว 18 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 12,500 ฟอง
แม่ปลาขนาดความยาว 30 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 40,000 ฟอง
|
ฤดูการวางไข่
ปลากดเหลืองสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
ในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับภาคใต้ตอนล่าง ฤดูผสมพันธุ์วางไข่
อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ฤดูกาลวางไข่ของปลากดเหลือง จะแตกต่างกันไปตามสภาพ
และที่ตั้งของพื้นที่ เช่น
-
อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี
- แม่น้ำบางปะกงอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
- เขื่อนศรีนครินทร์ ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน
- เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม
อนึ่ง
ปัจจัยที่เป็นตัวควบคุมความสุกแก่ของรับไข่ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงของรอบปี
|
การพัฒนาของไข่ปลา
ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่จมและติดกับวัตถุ เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีสารเมือกเหนียวที่รอบเปลือกไข่
ทำให้ไข่ปลาติดกับวัตถ ุหรือไข่ติดกันเป็นกลุ่ม ก้อนไข่แก่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย
0.82 มิลลิเมตร ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะขยายขึ้นเป็นขนาดประมาณ
1 มิลลิเมตร มีลักษณะกลม สีเหลืองใสสด ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมจะมีสีขาวขุ่นหรือบิดเบี้ยว
การพัฒนาไข่ปลากดเหลืองเป็นตัว ที่อุณหภูมิ 26-28 องศาเซลเซียส
ภายในเวลา 30 ชั่วโมง เมื่อมีอายุย่างเข้าวันที่ 4 ลักษณะลำตัวและครีบต่าง
ๆ เริ่มคล้ายกับปลาเต็มวัย ลูกปลามีขนาดประมาณ 0.8 เซนติเมตร
ลูกปลายอายุ 10 วัน มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร
|
|
ที่มาข้อมูล งานเอกสารคำแนะนำ กองส่งเสริมการประมง
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
|