จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาสลิด ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด และอื่นๆ บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
ที่ตั้งฟาร์มปลา 120/2 หมู่ 3 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
089-856-3941 (เจ๊ประนอม)
062-446-5364 (มดดำ)


บริการส่ง Order ขั้นต่ำ 15,000 บาท

ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีด้วยประสบการณ์ด้านการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 30 ปี ฟาร์มของเรามีความใส่ใจและเชี่ยวชาญในการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง สายพันธุ์ดี ปลอดโรค เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลา อีกทั้งเรายังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ได้ขนาดมาตราฐานและมีความแข็งแรงอัตราการรอดสูง เพื่อส่งถึงมือเกษรกรไทยผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วภูมิภาค พันธุ์ปลาคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม แก้วงาม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืด
บทความที่น่าสนใจ
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงลูกปลาแบบพัฒนา
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย ความหลากหลายของปลาน้ำจืด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
ปลาชะโด
ปลาบึก
ปลาเสือตอ ปลานิล ปลานวลจันทร์
ปลาสวาย ปลาดุก
ปลาสลิด
ปลายี่สก
ปลากราย
ปลาเทโพ
ปลาไน ปลากระโห้ ปลากดคัง
ปลาทับทิม
ปลากะพงน้ำจืด  

อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง

ในปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้นั้น จะต้องเริ่มต้นจากการลดการพึ่งพาภายนอกและเพิ่มการพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด หรือแปลออกมาง่ายๆ ว่า "กินสิ่งที่ปลูก และปลูกสิ่งที่กิน" เมื่อเหลือจากที่กินเอง จึงนำไปขายให้ได้เงินมาซื้อของอื่นที่ต้องการ

หลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานที่จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่เดือดร้อนใคร แลtไม่เดือดร้อนตนเองที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

อาชีพพนักงานหรือลูกจ้างถือเป็นอาชีพที่ต้องพึ่งพาภายนอกมากที่สุด เพราะอาศัยแค่แรงงานตนไปแลกค่าจ้างมาเลี้ยงชีพ ต่างจากเกษตรกรที่สามารถเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์มาเป็นอาหารเลี้ยงตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาใคร

ที่ผมนำเสนอเรื่องการพึ่งพาตนเองนี้ ไม่ใช่เพื่อให้เราเลิกการผลิตทางการเกษตรที่กำลังทำกันเป็นอุตสาหกรรม และเป็นแนวทางที่นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านส่งเสริมมาโดยตลอด คือแนวทางชี้ช่องการประกอบอาชีพ ชี้ช่องทำเงิน หรือชี้ช่องรวย ซึ่งเป็นแนวทางที่ดี แต่ในขณะเดียวกันต้องยอมรับว่า ในสังคมเรายังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีโอกาสเช่นนั้น เขาเหล่านี้ไม่มีปัญญาแม้แต่จะหาเงินมาเลี้ยงชีพได้ หรือหาได้แต่ก็ยังไม่พอกินอยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดแล้ว

บางคนมีที่นาเป็นสิบๆ ไร่ ทำนาทุกปี แต่ก็ยังต้องไปซื้อข้าวเขากิน เท่านั้นยังไม่พอ บางทียังต้องไปซื้อผักซื้อน้ำพริกซื้อกับข้าวเขากิน

อันนี้ต้องเปลี่ยนหลักคิดใหม่ ถ้าทำนามาเป็นสิบๆ ปี ไม่เคยลืมตาอ้าปากได้ ต้องเลิกทำ หรือทำให้น้อยลง แล้วหันไปทำอย่างอื่น เช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา เพื่อให้เป็นอาหารของตนเอง ไม่ต้องซื้อจากภายนอก เพราะขายข้าวเพื่อเอาเงินไปซื้อกับข้าวมากินแล้วยังไม่พอกิน แบบนี้ต้องเปลี่ยนมาผลิตกับข้าวเอง ทำให้พอกินไปตลอดทั้งปี ไม่ต้องไปซื้อใคร ทำแบบนี้ (ผลิตเพื่อกิน) ให้ได้แล้วค่อยคิดอ่านไปทำการผลิตเพื่อขาย

นั่นแหละครับเป็นเหตุผลที่ผมอยากนำเสนอ

อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง

มาเข้าเรื่องของเรากันต่อนะครับ เรื่องการเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกเพื่อการพึ่งพาตนเองนั้น ไม่ค่อยยากเท่าไร เนื่องจากปัจจัยการผลิตในการเพาะปลูกก็คือ ปุ๋ย ซึ่งเป็นอาหารของพืช สามารถหาได้จากในเรือกสวนไร่นานั่นเอง

แต่ในเรื่องการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพึ่งพาตนเองนั้นจะยากกว่า เนื่องจากร่างกายสัตว์ซับซ้อนกว่าพืช เราไม่สามารถป้อนสัตว์ด้วยธาตุอาหารพื้นฐานอย่างที่ใช้ผลิตปุ๋ยได้ เราจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ซับซ้อนกว่า และที่ยุ่งยากไปกว่านั้น การเตรียมอาหารปลาก็ยิ่งยากไปกว่าการเตรียมอาหารสัตว์บก เนื่องจากสรีระในระบบย่อยอาหารของปลาไม่มีวิวัฒนาการที่ดีเหมือนสัตว์บก จึงย่อยอาหารบางอย่างไม่ได้ เช่น ปลาไม่มีเอนไซม์ย่อยเซลลูโลส จึงไม่สามารถเติมอาหารที่มีเซลลูโลสมากๆ ได้ เพราะอาหารนั้นจะไม่ถูกย่อยในร่างกายปลา

การนำเสนอเรื่องอาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเองก็เพื่อให้ผู้อ่านหรือเกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปผลิตอาหารปลาได้เอง เพื่อลดรายจ่ายในการเลี้ยงปลา ลดการพึ่งพาอาหารปลาจากภายนอก สามารถเลี้ยงปลาเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงตนเองได้ ส่วนกรณีที่ใครทำได้ผลดี จะขยายเป็นการเลี้ยงปลาเพื่อขายก็ค่อยว่ากันไป

ระบบการย่อยอาหารของปลา

การย่อยอาหารเป็นกระบวนการที่อาหารในท่อทางเดินอาหารถูกทำให้มีขนาดเล็กลง จนสามารถถูกดูดซึมเข้าผนังทางเดินอาหารเข้าไปในเลือดและนำไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

การย่อยโปรตีน ปลามีเอนไซม์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยโปรตีนได้ดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกจากนี้ ปลากินพืชบางชนิด เช่น ปลานิล สามารถย่อยผนังเซลล์ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินได้ ทำให้สามารถได้รับโปรตีนจากพืชได้ด้วย

การย่อยไขมัน ปลากินเนื้อมีการทำงานของเอนไซม์ย่อยไขมันได้มากกว่าปลากินแพลงก์ตอน ปลากินพืช ปลากินพืชและเนื้อ แต่การทำงานของเอนไซม์ย่อยไขมันก็ยังดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

การย่อยคาร์โบไฮเดรต ปลากินเนื้อมีประสิทธิภาพการย่อยคาร์โบไฮเดรตไม่ดีเท่าปลากินเนื้อและปลากินพืช การย่อยแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตของปลากินเนื้อจึงมีข้อจำกัดมากกว่า จากเหตุผลนี้ทำให้ปลากินเนื้อกินคาร์โบไฮเดรตได้ระดับหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ดี ปลากินพืชที่สามารถกินและย่อยเซลลูโลสซึ่งเป็นส่วนประกอบของพืชได้ ก็ไม่ใช่เพราะมีเอนไซม์ของตนเอง แต่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ของปลาทำหน้าที่หลั่งเอนไซม์ย่อยเซลลูโลสออกมา

การรู้จักระบบย่อยอาหารของปลาก็เพื่อให้สามารถเลือกอาหารให้กับปลาได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง ซึ่งถ้าจำแนกชนิดของปลาตามตามนิสัยของการกินอาหารปลาสามารถจำแนกได้ ดังนี้

1. ปลาประเภทกินพืช ได้แก่ ปลาจีน ปลาหมอตาล ปลาตะเพียนขาว ปลาแรด ปลาไน ปลานิล ปลาจำพวกนี้ชอบกินอาหารที่เป็นพืช เช่น รำ ปลายข้าว เศษผัก หญ้าขน

ปลาประเภทนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่กินพืชขนาดใหญ่ ได้แก่ ปลาแรด ปลาสลิด ปลาเฉา ปลาตะเพียน และพวกปลากินพืชขนาดเล็ก ได้แก่ ปลาเล่ง ปลาซ่ง ปลาหมอตาล ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลายี่สกเทศ

2. ปลาประเภทกินเนื้อ ได้แก่ ปลาดุก ปลาบู่ ปลาช่อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 พวก คือ

พวกที่กินสัตว์ที่ตายแล้ว แต่ยังไม่เน่าเปื่อย เช่น ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย ปลาสวาย

พวกที่กินแมลงเป็นอาหาร ได้แก่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาไน ปลาหมอไทย ปลาเสือตอ

พวกที่กินเนื้อหรือลูกปลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาสะกุป ปลาไหลนา ปลาชะโด

3. ปลาประเภทกินตะไคร่น้ำ ปลาชนิดนี้จะกินตะไคร่น้ำ สาหร่าย และพืชสีเขียวเล็กๆ ได้แก่ ปลาลิ่น ปลาซ่ง ปลาสลิด ปลายี่สก

4. ปลาประเภทกินเนื้อและพืช ได้แก่ ปลาสวาย ปลายี่สก ปลาเทโพ

ประเภทของอาหารปลา

อาหารธรรมชาติ

หมายถึง อาหารที่เกิดขึ้นเองในแหล่งน้ำ หรือบ่อเลี้ยงปลา มีทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งอาหารประเภทนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาแบบพึ่งพาตนเอง ได้แก่

1. แพลงตอนพืช กระจายอยู่ทั่วไปในบ่อ สามารถขยายพันธุ์และเจริญได้ดีในบ่อที่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง

2. แพลงตอนสัตว์ สามารถว่ายและเคลื่อนลอยอยู่ในน้ำ เช่น สัตว์เซลล์เดียว ตัวอ่อนของปู กุ้ง

3. ชีวอินทรีย์ที่เป็นสัตว์ เช่น ลูกน้ำ ลูกแมลงปอ ลูกหอย และแมลงน้ำชนิดอื่นๆ

4. สัตว์น้ำก้นบ่อ สัตว์ที่ฝังตัวอยู่ก้นบ่อ เช่น หนอนแดง ไส้เดือน ลูกหอยขม

5. พืชน้ำ พืชที่เกิดขึ้นในบ่อ

ปลาที่เหมาะสำหรับการใช้อาหารประเภทนี้ ได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลาเฉา ปลาซ่ง ปลาเล่ง ปลายี่สกเทศ และปลาสลิด ปลาเหล่านี้เป็นปลาซึ่งมีราคาถูก ขายไม่ได้ราคา แต่สามารถใช้บริโภคเองได้เป็นอย่างดี ยกเว้นปลาสลิดที่มีราคาดีและเป็นที่นิยมในตลาด จึงอาจเลี้ยงเพื่อบริโภคและขายได้

เกษตรกรสามารถสร้างอาหารธรรมชาติเหล่านี้ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ใส่ลงในบ่อ ประมาณ 100-200 กิโลกรัม ต่อไร่ และใส่เพิ่มเป็นระยะๆ ตลอดการเลี้ยง โดยสังเกตสีน้ำในบ่อ พยายามให้เขียวตลอดเวลา ไม่ใสเกินไปหรือเขียวเข้มเกินไป ควรให้น้ำมีความโปร่งใส ประมาณ 30 เซนติเมตร ปลาจะสามารถมีอาหารกินได้อย่างอุดมสมบูรณ์

ปุ๋ยมูลสัตว์ที่นิยมใช้ ได้แก่ ขี้หมู และขี้ไก่ ซึ่งแนะนำให้ใส่ในสภาพที่แห้ง จะช่วยไม่ให้น้ำเน่าเสียเร็วเกินไป โดยอาจทยอยใส่ถุงผูกไว้ในบ่อหรือทยอยโยนรอบบ่อก็ได้

ปัจจุบัน มีระบบการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน คือเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น ไก่ หมู เป็ด เป็นต้น ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่ออาศัยมูลสัตว์และเศษอาหารตกหล่นลงมาในบ่อปลา เพื่อเป็นอาหารสมทบให้แก่ปลาโดยตรง ส่วนมูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยที่สร้างให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่ออีกด้วย

อาหารสมทบ

มีทั้งมาจากพืชและสัตว์ อาจใช้เลี้ยงปลาได้โดยตรงหรือผสมกับอาหารอื่น เช่น

1. ใบและต้นพืช

2. หัวและเมล็ดพืช

3. เศษอาหาร เช่น กากถั่วเหลือง กากมะพร้าว

4. กุ้ง หอย

5. ปลาทะเลสด

6. ปลาป่น

7. เศษเนื้อ เลือดสัตว์ เช่น เนื้อปู ปลา หมู

อาหารสำเร็จรูป

หมายถึง อาหารที่ผลิตออกมาให้มีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์น้ำแต่ละชนิดหรือแต่ละขนาด เป็นอาหารที่สะดวกต่อการให้ และเป็นที่นิยมมากในการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับการเลี้ยงปลาแบบพึ่งพาตนเอง เนื่องจากวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้จำเป็นต้องซื้อหามาจากภายนอก

1. อาหารเคลือบเม็ดเล็กจิ๋ว ดูเป็นผงคล้ายกับนมผงแต่มีสารเคลือบพิเศษที่สามารถทำให้อาหารสามารถลอยน้ำได้

2. เม็ดจม ลักษณะเป็นผงและแห้ง มาผสมกับน้ำและไอน้ำแล้วผ่านเครื่องอัดเม็ดให้เป็นรูปร่างต่างๆ

3. แบบเม็ดลอย อาหารชนิดนี้มีอากาศอยู่ข้างใน จึงทำให้มีคุณสมบัติสามารถลอยน้ำได้

การทำอาหารเลี้ยงปลา

การผลิตอาหารเลี้ยงปลาจำเป็นต้องมีความรู้เพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง ได้แก่ การเลือกชนิดอาหารที่จะผลิต จะผลิตเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ เม็ดจมน้ำ หรืออาหารผสมสด

แล้วยังต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ การคำนวณสูตรอาหารปลา รู้จักเครื่องมือ ขั้นตอนการผลิต และทั้งหมดยังต้องสัมพันธ์กับการให้อาหารปลาด้วยว่า เราจะเลือกวิธีไหนเลี้ยงอาหารปลา ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้เหมาะกับการเลี้ยงปลาแบบพัฒนาหรือกึ่งพัฒนา ในบทความตอนนี้ผมจะขอกล่าวแค่การเลี้ยงปลาแบบพึ่งพาตนเองจึงขอข้ามเรื่องเหล่านี้ไปก่อน และจะนำมาเสนอให้ตอนต่อๆ ไป ซึ่งเกษตรกรที่เลือกจะเดินในเส้นทางพึ่งพาตนเองก็ควรศึกษาไว้เช่นกัน เมื่อหลุดพ้นจากการพึ่งพาภายนอกได้แล้ว หรือมีความสามารถเลี้ยงดูตนเองได้แล้ว ก็อาจขยับขยายใช้เครื่องมือเหล่านี้ไปผลิตเพื่อขายก็ได้

การเลี้ยงปลาแบบพึ่งพาตนเอง

อาหารปลาที่มีคุณภาพดีต้องมีสัดส่วนของโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ครบทั้งคุณภาพและปริมาณพอดีความต้องการของปลาที่เลี้ยง อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลาด้วยอาหารที่มีราคาสูงเกินไป อาจประสบภาวะขาดทุนได้ หากต้นทุนการเลี้ยงสูง ในขณะที่ราคาขายปลาต่ำ ดังนั้น การเลี้ยงปลาจึงควรมุ่งหวังให้ได้กำไรสูงสุด ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้ผลผลิตสูงสุดเสมอไป

แนวทางที่จะเลี้ยงปลามีกำไร ก็โดยการลดต้นทุนอาหารลง ผลิตอาหารเองใช้ในฟาร์ม หรือให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียในน้ำให้น้อยลงที่สุด

ในการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา (intensive system) จะมีการปล่อยปลาอย่างหนาแน่น มีการให้อาหารในปริมาณมาก มีการจัดระบบระบายน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ การป้องกันโรคและการจัดการฟาร์มเป็นอย่างดี ซึ่งต้องใช้ทุนในการดำเนินการสูง การเลี้ยงปลาแบบนี้จึงเหมาะกับปลาที่มีราคาสูง เช่น ปลาดุก ปลาเก๋า ปลากะพงขาว ปลาบู่ ปลาช่อน เป็นต้น ซึ่งต้นทุนการดำเนินการส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหาร

แต่หากไม่พร้อมที่จะผลิตอาหารเองก็ควรเลือกแนวทางใช้อาหารธรรมชาติเป็นหลัก ใช้อาหารสมทบบ้างตามที่มีในเรือกสวนไร่นาของเรา หรือใช้หลักการเลี้ยงแบบผสมผสานก็จะดีกว่า

เริ่มต้นจากการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ ไม่ให้อาหารสมทบเลย เพียงแต่สร้างอาหารธรรมชาติให้เกิดขึ้นในบ่อ โดยการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ หรือตัดหญ้ามาหมักให้เป็นปุ๋ยใส่ลงในบ่อเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดแพลงตอนหรือน้ำเขียวเป็นอาหารของปลา การเลี้ยงแบบนี้เหมาะกับปลาสลิด ปลาตะพียนขาว หรือปลานิล

แต่ถ้ามีผลผลิตทางการเกษตรอื่นอยู่ในเรือกสวนไร่นาของตนเองอยู่แล้ว ก็อาจขยับขึ้นไปเลี้ยงปลาแบบกึ่งพัฒนา ซึ่งจะให้ผลผลิตสูงกว่าการเลี้ยงปลาแบบธรรมชาติ โดยให้อาหารสมทบบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ให้ปลายข้าวต้ม รำ กากถั่วเหลือง หรือเม็ดข้าวโพดบดสมทบให้ปลากิน โดยอาจปั้นเป็นก้อนแล้วโยนให้กิน เหมาะกับการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลาจีน ปลายี่สก

สุดท้ายเป็นการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน (integrated system) เป็นแบบที่เหมาะสมและแนะนำให้เลี้ยง เนื่องจากเป็นการเกษตรแบบครบวงจร สามารถนำผลพลอยได้จากการเกษตรอย่างหนึ่งไปใช้กับการผลิตการเกษตรอีกอย่างหนึ่งได้

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานมักเลี้ยงปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย ปลาจีน ปลายี่สก หรือปลาบิ๊กอุยร่วมกับการเลี้ยงหมูหรือการเลี้ยงไก่ เช่น เลี้ยงปลาบิ๊กอุย 200,000 ตัว ในบ่อขนาด 10 ไร่ ร่วมกับการเลี้ยงไก่ 2 เล้า จำนวน 10,000 ตัว หรือการเลี้ยงปลากินพืช จำนวน 5,000 ตัว ในบ่อขนาด 1 ไร่ ร่วมกับการเลี้ยงหมู 1 เล้า จำนวน 8 ตัว เป็นต้น

สรุป

จะเห็นได้ว่า อาหารเป็นต้นทุนผันแปรที่สูงสุดของการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาแบบพัฒนา หากเราสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการจัดหาอาหารปลาที่มีหรือเกิดขึ้นในเรือกสวนไร่นาของตนเองได้ ก็จะสามารถลดการพึ่งพาภายนอกลงได้กว่า 50 % เลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี การลดการพึ่งพาอาหารปลาจากภายนอก ก็ต้องคำนึงถึงคุณค่าอาหารที่ลดลงด้วย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตปลาลดลง เราจึงต้องเลือกเลี้ยงปลาที่เหมาะสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เรามีในพื้นที่ด้วย ไม่ใช่เรามีเพียงนาข้าว มีผลผลิตหลักเป็นข้าว ปลายข้าว และรำ แต่อยากเลี้ยงปลาดุกซึ่งต้องกินเนื้อ แบบนี้ก็ไม่เหมาะสม

อีกอย่างที่ผมเป็นห่วงคือ เดี๋ยวนี้ปลานิลซึ่งเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายที่สุดประเภทหนึ่งเพราะกินพืชเป็นหลัก สามารถกินเศษผัก เศษหญ้าได้ เราก็ยังไปซื้ออาหารเม็ดให้มันกินอีก แล้วแบบนี้เมื่อไรจะพึ่งพาตนเองได้ การใช้อาหารเม็ดเลี้ยงปลานิลนั่นเป็นการเลี้ยงปลาให้ได้คุณภาพตามที่บริษัทรับซื้อต้องการ ซึ่งคนเลี้ยงต้องพร้อมที่จะลงทุน แต่หากไม่พร้อมหรือต้องการเลี้ยงไว้กินเอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเม็ดหรอกครับ ปลาโตช้าไปนิด แต่ก็ยังเป็นปลาของเรา ไม่ใช่ปลาบริษัท

น้ำใสไม้เขียว

น.สพ.ธวัชชัย สันติกุล
ที่มา หนังสือพิมพ์เทคโนโลยีชาวบ้าน










 

 

 
 

ปริมาณจัดส่งพันธุ์ปลาถึงบ่อ
ลูกค้าขั้นต่ำ 15,000 บาท
ต่ำกว่ารบกวนมารับที่ฟาร์ม
เรายินดีต้อนรับค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 
 
   
  เทคนิคการเลี้ยงปลาน้ำจืด
  การเลี้ยงปลานิลหมัน
   
  ข้อมูลปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
 
ปลากราย
ปลาชะโด
ปลาดุกอุย
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาบู่ทราย
ปลาลิ้นหมา
ปลาสลาด
ปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูขาว
ปลาไหล
ปลาตะเพียนทราย
ปลาสวาย
ปลาสร้อยขาว
ปลานวลจันทร์

ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน
ปลาเทโพ
ปลาบึก
ปลายี่สก
ปลาสร้อยเกล็ดถี่

ปลาสลิด
ปลาหมอ
ปลาหลด
ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนทอง
ปลาหมอเทศ
ปลาสังกะวาด
  พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย
 
กดหิน แขยงหิน
กระดี่นาง
กะสูบขีด
กา เพี้ย
เข็ม
แขยงธง
เค้าขาว
ช่อนงูเห่า
ตองลาย
ตะพาก ปีก
บึก ไตรราช
ม้า กวาง
เวียน
ปลานิล
กระดี่หม้อ
กะทุงเหว
กะแหทอง
แก้มช้ำ
ลูกผึ้ง อีดูด
เสือพ่นน้ำ
หางไหม้
กดเหลือง
กะทิงดำ หลาด
กะสูบจุด
ก้างพระร่วง
แขยงข้างลาย
คางเบือน
จีด
ดุกลำพัน
ตะโกก โจก
ตูหนา ไหลหูดำ
พรมหัวเหม็น
แรด เม่น มิ่น
หัวตะกั่ว หัวเงิน
ปลาทับทิม
กะทิงไฟ
กระมัง
กระโห้
พลวงหิน
เสือตอ
หมอตาล
   
  สายพันธุ์ปลาสวยงาม
 
ซัคเกอร์
กระดี่หม้อ
ปลาหมอสี
ปลาหางนกยูง
ปลาทอง
ปลาคาร์พ
ปลาเทวดา
ปลาตะพัด

กระดี่แคระ
ปลากัดไทย
สอดแดง
ปลาปอมปาดัวร์
ปลากาแดง
ปลาเซลฟิน
ปลาม้าลาย
  แหล่งรวมความรู้เรื่องปลา
  ปลากดเหลือง
ปลาไน (VDO)
ปลาบึก (VDO)
   
  บทความน่าสนใจ
 

การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง
การเลี้ยงลาดุก
เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา
การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
การเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน
การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ชีววิทยาและการผสมพันธุ์ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย
ความหลากหลายของปลาน้ำจืด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)

  เอกสารการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
  บทความพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ
   
 
     
 
หน้าแรก | จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืืด | บทความน่าสนใจ | การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย | การเพาะพันธุ์ปลาสวาย | การเพาะพันธุ์ปลานิล | การเพาะพันธุ์ปลาแรด | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง | การเพาะพันธุ์ปลาทับทิม | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียน | การเพาะพันธุ์ปลายี่สก | การเพาะพันธุ์ปลาจีน | การเพาะพันธุ์ปลาไน | การเพาะพันธุ์ปลากระพง | การเพาะพันธุ์ปลาบึก | การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ | การเพาะพันธุ์ปลากราย | การเพาะพันธุ์ปลากระโห้ | คำถามที่พบบ่อย | จำหน่ายลูกปลา | ประทีปพันธุ์ปลา | ติดต่อฟาร์มพันธุ์ปลา

© Copyright ประทีปพันธุ์ปลา (Bestfish4u.com) จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด  All rights reserved.