ปลายี่สกมีเผ่าพันธุ์เชื้อสายเดียวกับปลาตะเพียน
เช่นเดียวกับปลาตะโกก ปลากะโห้ ปลานวลจันทร์น้ำจืด และปลาสร้อยในภาคกลางพบปลายี่สกอาศัยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำราชบุรี แม่น้ำป่าสัก แควน้อย แควใหญ่
ภาคเหนือพบมากที่แม่น้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบในแม่น้ำโขง
ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย จังหวัดอุบลราชธานี มีมากในจังหวัดหนองคาย
และจังหวัดนครพนมเมื่อ 50 ปีก่อน ดร.สมิท ที่ปรึกษาราชการกรมรักษาสัตว์น้ำแห่งรัฐบาลสยาม
รายงานว่าปลายี่สกเป็นปลาดีที่นิยมของชาวราชบุรีพอ ๆ กับปลาจาดหรือปลาเวียนอันมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรีในต่างประเทศ
เคยพบในประเทศมาเลเซีย และคาดว่าคงจะพบในประเทศลาว เขมร
และเวียดนามด้วยตามธรรมชาติ ปลายี่สกกินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก
และอาจกินสัตว์หน้าดิน ลูกกุ้ง ลูกปู และไรน้ำ
อุปนิสัยปลายี่สกชอบอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่พื้นท้องน้ำมีลักษณะเป็นกรวดทราย
ระดับน้ำลึก 5-10 เมตร น้ำเย็นในสะอาด จืดสนิทและเป็นบริเวณที่มีน้ำไหล
วังน้ำกว้างและมีกระแสน้ำไหลวน ลูกปลาจะไปรวมกันอยู่เป็นฝูงตามบริเวณที่เป็นอ่าว
และพื้นเป็นโคลนหนาประมาณ 10-20 เซนติเมตรพอถึงเดือนตุลาคม
ปลาจะเริ่มว่ายทวนขึ้นไปเหนือน้ำเพื่อวางไข่และจะกลับถิ่นเดิมในเดือนพฤษภาคมหรือพอน้ำเริ่มมีระดับสูงขึ้น
ปลายี่สกจะพากันไปอาศัยตามห้วยวังที่มีน้ำลึก กระแสน้ำไหลคดเคี้ยว
พื้นดินเป็นดินทรายและกรวดหิน เป็นท้องทุ่ง (คุ้ง) หรือวังนัที่กว้างใหญ่ใกล้เขาสงบ
น้ำใสสะอาด ลึกตั้งแต่ 5-10 เมตร หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดมา
ลักษณะรูปร่างปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล
ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7
แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด
3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น
ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้
เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง
ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน
หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี
ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม
ลักษณะของปลาตัวผู้
1. ลำตัวเรียวยาว
2. ขนาดเล็กกว่าปลาตัวเมีย
3. ลักษณะเพศเป็นวงรีเล็ก มีสีชมพูเรื่อ ๆ ในฤดูผสมพันธุ์จะมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมาเป็นจำนวนมาก
4. มีตุ่มสิว (Pearl spot) ที่บริเวณแก้มและข้างตัวมากกว่าตัวเมีย
เมื่อเอามือลูบจะสากมือ
ลักษณะของปลาตัวเมีย
1. ลำตัวอ้วนป้อม ช่องท่องขยายกว้าง
2. ขนาดใหญ่กว่าปลาตัวผู้
3. ช่องเพศกลมใหญ่ มีสีชมพูปนแดง และแผ่นไขมัน (papillae
plate) ขยายเป็นวงล้อมรอบช่องเพศ
4. มีตุ่มสิวเช่นกัน แต่น้อยกว่าปลาตัวผู้
ฤดูวางไข่
ปลายี่สกเป็นปลาที่วางไข่ในฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
ปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อดีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ระยะที่ปลาวางไข่มากที่สุด
คือ ประมาณปลายเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือถ้านับทางจันทรคติ
ประมาณกลางเดือนสาม ในต้นฤดูวางไข่ ปลาจะว่ายน้ำเหนือน้ำไปยังแหล่งวางไข่ในลักษณะคู่ใครคู่มัน
เมื่อถึงแหล่งวางไข่ จะรวมกันอยู่เป็นฝูงจับเป็นคู่ ๆ เล่นน้ำตามริมตลิ่งในตอนบ่าย
จับคู่เคล้าเคลีย และโดดขึ้นเหนือน้ำ ส่งเสียงดังสนั่น พอพลบค่ำก็ว่ายออกไปวางไข่กลางแม่น้ำในขณะที่ปลาวางไข่ปลาจะเชื่องมาก
ไม่ยอมหนีจากกัน ทำให้ถูกจับได้ง่าย ปลาตัวเมียที่ถูกจับได้
จะมีไข่ไหลออกมา บางครั้งต้องใช้ผ้าอุดไว้ไม่ให้ไข่ไหล ไข่ที่ได้ถ้าไปผสมกับน้ำเชื้อตัวผู้จะได้รับการผสมดีมาก
เพราะไข่แก่จัดเป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ปลายี่สกมักจะวางไข่ในวันพระขึ้นหรือแรม
15 ค่ำ ชาวประมงจะคอยสังเกตก่อนถึงวันพระ 3 วัน ถ้าเห็นปลาเริ่มจับคู่เล่นน้ำริมตลิ่งหลายคู่
แสดงว่าปลาจะต้องวางไข่ในวันพระที่จะถึงแน่นอน
แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างกะทันหันเช่น ฝนตกหนัก
หรือระดับน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะเลื่อนการวางไข่ต่อไปอีก ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง
คือ ก่อนที่ปลาจะวางไข่ ชาวประมงจะจับปลาสร้อยได้เป็นจำวนมาก
พร้อมทั้งปลาเทโพและปลากินเนื้อ บางชนิดเข้าใจว่าปลาสร้อยจะคอยกินไข่ปลายี่สก
และปลาเทโพจะกินปลาสร้อยอีกต่อหนึ่ง เข้าลักษณะสมดุลกันตามหลักธรรมชาติ
แหล่งวางไข่
แหล่งวางไข่ของปลายี่สกตามธรรมชาติ จะต้องมีเกาะหรือแก่งอยู่กลางน้ำ
พื้นเป็นกรวดทราย มีกระแสน้ำไหลวินาทีละ 1.3 เมตร ความโปร่งแสงของน้ำ
10 เซนติเมตร ที่ระดับน้ำลึก 0.5-2 เมตร มีสัตว์หน้าดินชุกชุมมาก
บริเวณท้ายเกาะจะต้องมีบุ่งหรือแอ่ง ซึ่งเป็นที่สะสมอาหารเมื่อปลาพร้อมที่จะวางไข่
ก็ว่ายน้ำออกไปท้ายเกาะตรงบริเวณที่กระแสน้ำไหลมาบรรจบกัน
ลักษณะไข่ของปลายี่สก
ไข่ปลายี่สกเป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย จะฟักออกเป็นตัวในเวลาประมาณ
70 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 21.5-24.0 องศาเซลเซียส ไข่มีสีเหลืองเส้นผ่าศูนย์กลาง
2 มิลลิเมตร เมื่อถูกน้ำจะพองออกเป็น 3 มิลลิเมตร ลูกปลาที่ฟักเป็นตัวใหม่
ๆ มีความยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร
การหาพันธุ์ปลายี่สกเพื่อเลี้ยงอาจหาลูกปลาได้จาก 2 ทางคือ
ก. จากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ข. ซื้อพันธุ์ปลาจากหน่วยราชการของกรมประมง ซึ่งได้จากการผสมเทียมปีหนึ่ง
ๆ หลายล้าน
การผสมเทียม
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย ประสบผลสำเร็จการผสมเทียมปลายี่สกไทย
เมื่อปี พ.ศ.2517 โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติที่รวบรวมจากแม่น้ำโขง
และเมื่อเดือนมกราคม 2533 สถานีฯ สามารถใช้พ่อแม่พันธุ์ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงในบ่อดินมาทำการเพาะพันธุ์ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรก
โดยแม่พันธุ์ขนาด 7.4 กิโลกรัม ซึ่งมีความสมบูรณ์เพศและฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์
(suprefact) ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ (motilium) บริเวณที่ฉีดฮอร์โมนคือ
ทางช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ขนาด 5.0 กิโลกรัมมีเชื้อดี
ไม่ต้องฉีดฮอร์โมน
การผสมไข่กับน้ำเชื้อ
การผสมไข่กับน้ำเชื้อใช้วิธีผสมแห้ง เนื่องจากไข่ปลายี่สกไทยเปลือกไข่มีสารเหนียวจะทำให้ไข่ติดกันเป็นก้อน
ต้องล้างไข่ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
การอนุบาล
เมื่อลูกปลาวัยอ่อนมีอายุครบ 2 วัน เริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มบดละเอียดกับอาหารผง
(artificial plankton) ละลายน้ำสาดให้ลูกปลากินวันละ 2
ครั้ง ตอนเช้าและเย็น ลูกปลาอายุครบ 5 วัน จึงย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อดิน
และให้อาหารผสมคือ รำละเอียด:ปลาป่น:กากถั่วป่น = 9:6:5
หลังจากอนุบาลครบ 1 เดือน ลูกปลายี่สกไทยมีขนาด 2-3 เซนติเมตร
การลำเลียงลูกปลา
ลูกปลาเหมือนเด็กวัยอ่อน ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
ขนาดลูกปลาที่เหมาะสมในการลำเลียงเพื่อนำไปเลี้ยงคือ 1-1
1/2 นิ้ว หรือ 3-5 เซนติเมตร ไม่ควรโตกว่านี้ เพราะปลายี่สกเป็นปลาแม่น้ำ
ตกใจง่าย ถ้าขนาดโตกว่านี้จะกระโดดได้แรง ทำให้ปลาบอบช้ำ
อัตราการรอดตายต่ำ
การบรรจุลูกปลา ให้บรรจุในน้ำสะอาด ถ้าบรรจุด้วยถุงพลาสติกที่ใช้ในการลำเลียง
ถุงหนึ่ง ๆ บรรจุลูกปลาได้ประมาณ 100-500 ตัว แล้วแต่ขนาดของปลา
ถึงที่บรรจุและระยะทาง โดยอัดออกซิเจนแล้วมัดปากถุงให้แน่น
เวลาที่เหมาะสมในการลำเลียงนั้น ๆ ตอนกลางคืนเหมาะที่สุด
เพราะอากาศไม่ร้อน อัตราการรอดตายจะมากกว่าการลำเลียงตอนกลางวันนซึ่งอากาศร้อนเป็นเหตุให้ปลาอ่อนเพลียและอาจตายได้
แต่ถ้าจำเป็นต้องลำเลียงกลางวัน ให้ใส่น้ำแข็งข้างถุงที่บรรจุปลาด้วย
การเตรียมบ่อเลี้ยง
บ่อที่ขุดเสร็จแล้ว สูบน้ำออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกแห้งอัตรา
200 กก./ไร่ ผสมปูนขาว 10 เปอร์เซนต์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
เพื่อเป็นการฆ่าไข่แมลงบางชนิดที่วางไข่ไว้ในปุ๋ยคอก แล้วโรยให้รอบบ่อ
จึงเอาน้ำเข้า การระบายน้ำเข้าบ่อควรกรองให้ดี และควรเอาน้ำเข้าบ่อก่อนปล่อยปลา
1 วัน หรือทำวันเดียวกับที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวแมลงที่จะคอยกินลูกปลา
พยายามให้ลูกปลาคุ้นเคยกับบ่อดิน รู้จักหลบหลีกก่อนที่แมลงจะลงไปอาศัยอยู่ในบ่อ
ลูกปลาจะได้แพลงก์ตอนในน้ำ และรำข้าวที่โรยให้กินเป็นอาหาร
วิธีนี้ลูกปลาจะมีอัตรารอดตายสูงขึ้น
อีกวิธีหนึ่ง เมื่อเตรียมบ่อตากบ่อแห้งดีแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยคอกลงไประบายน้ำเข้าประมาณ
50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 7-10 วัน เมื่อไรน้ำเกิดจึงเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น
แล้วปล่อยลูกปลาลงไป วิธนี้ลูกปลาจะมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์
แต่จะมีมวนกรรเชียงอยู่มากมายคอยจับลูกปลากิน ดังนั้น
ก่อนปล่อยลูกปลา ต้องฆ่าแมลงเสียก่อนโดยใช้น้ำมันพืช เช่น
น้ำมันมะพร้าวผสมกับสบู่กรดหรือสบู่ซัลไลท์ โรยให้ทั่วบ่อ
เพื่อฆ่าแมลง อัตราส่วนน้ำมันพืช 5 ลิตร สบู่กรด 2 ก้อน
ต่อเนื้อที่บ่อ 80 ตารางเมตร แมลงจะตายภายใน 5 นาที ควรทำในวันที่มีแดดจัด
การสาดน้ำมันผสมสบู่ควรทำเหนือลม เพื่อให้น้ำมันกระจายได้ทั่วบ่อเร็วยิ่งขึ้น
น้ำมันพืชไม่เป็นอันตรายต่อลูกปลา
บ่อเลี้ยงลูกปลายี่สก
ขนาดบ่อควรมีเนื้อที่ตั้งแต่ 800 ตารางเมตร ขึ้นไป
ลึกตั้งแต่ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร เลี้ยงลูกปลาขนาด
1 - 1 1/2 นิ้ว
อัตราการปล่อย ลูกปลาขนาด 1-1 1/2 นิ้ว ปล่อยประมาณ 100,000
ตัว ต่อเนื้อที่บ่อ 800 เมตร หรือ 200,000 ตัว ต่อเนื้อที่บ่อ
1 ไร่
ถ้าจะให้ได้ผลดี เนื้อที่บ่อ 800 ตารางเมตร ปล่อยลูกปลาน้อยกว่า
100,000 ตัว ลูกปลาจะเจริญเติบ
บ่อเลี้ยงปลายี่สกใหญ่
ขนาดบ่อควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 1 ไร่ ระดับน้ำลึก
1.20-2.0 เมตร ใช้เลี้ยงปลายี่สกขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป
จนถึงขนาดที่ตลาดต้องการ คือ น้ำหนัก 4 กิโลกรัมขึ้นไป
อัตราการปล่อย ขนาด 10 เซนติเมตร จำนวน 200 ตัว ต่อเนื้อที่
1 ไร่ หากปลาได้รับอาหารอุดมสมบูรณ์ ปลาจะเจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้นภายในระยะเวลา
2 ปี จะได้น้ำหนัก 4 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย
บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อดินขนาด 1 ไร่ น้ำลึกประมาณ
1.0 เมตร ปล่อยปลาขนาด 1.0-7.0 กิโลกรัม จำนวน 30 ตัว
(น้ำหนักรวมประมาณ 100 กิโลกรัม) เลี้ยงแบบรวมเพศ
การเลี้ยงปลายี่สก
ผู้ที่เลี้ยงเป็นอุตสาหกรรรมต้องลงทุนมาก เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่
เวลาเลี้ยงหลายปีจึงจะได้ขนาดที่ตลาดต้องการ ผู้ที่มีทุนน้อยควรจะเลี้ยงปลายี่สกเป็นปลาสมทบ
คือเลี้ยงรวมกับปลากินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาไน ปลาสวาย
ปลาจีน ปลาเหล่านี้จะกินอาหารผิวน้ำและกลางน้ำ ส่วนปลายี่สกจะกินอาหารพื้นบ่อ
อาหารที่เหลือจากผิวน้ำ กลางน้ำ จะตกไปเป็นอาหารปลายี่สก
การเลี้ยงเป็นปลาสมทบ อัตราการปล่อยปลากินพืช 3,000-4,000
ตัว ต่อปลายี่สก 100 ตัว สำหรับผู้ที่มีทุนเพียงพอและมีบ่อขนาดใหญ่อาจเลี้ยงปลายี่สกชนิดเดียวได้
ทั้งนี้ก่อนจะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ เมื่อรับพันธุ์ปลามาแล้ว
ควรนำถุงไปวางแช่น้ำในบ่อ จึงเปิดปากถุง เติมน้ำในบ่อเข้าถุงทีละน้อยก่อนปล่อยลูกปลาลงเลี้ยง
อาหารปลายี่สก
อาหารลูกปลา การเลี้ยงปลายี่สกต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
การให้อาหารก็มีความสำคัญเช่นกัน ในธรรมชาติ หอยเป็นอาหารที่ปลายี่สกชอบมากที่สุด
ส่วนผสมของอาหารที่ให้ควรมี รำ 1 ส่วน ปลาป่น 2 ส่วน กากถั่ว
2 ส่วน ใส่น้ำพอคลุกเข้ากันเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเท่าลูกตะกร้อ
วางไว้ที่กระบะไม้ ซึ่งแขวนอยู่มุมบ่อใต้ผิวน้ำ ประมาณ
30 เซนติเมตร
วิธีที่จะให้มีอาหารธรรมชาติในบ่อปลาก็คือ ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์แห้ง
เช่น มูลโค-กระบือ มูลเป็ด-ไก่ตากแห้ง ฯลฯ ส่วยการใส่มูลสัตว์สด
ๆ ไม่ควรทำ จะทำให้เกิดแก๊สแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมากขึ้น
เป็นอันตรายต่อลูกปลา อัตราการใส่ปุ๋ยคอก 1 ไร่ต่อ 200
กิโลกรัม จะทำให้เกิดอาหารตามธรรมชาติ พวก กุ้ง หอย เป็นต้น
ซึ่งปลายี่สกชอบกิน การใส่ปุ๋ยควรใส่เหนือลม เพื่อปุ๋ยจะได้กระจายไปทั่วบ่อ
การสังเกตว่าในบ่อมีอาหารธรรมชาติเพียงพอหรือไม่ ใช้มือจุ่มลงไปในบ่อให้ลึกถึงข้อศอก
ถ้ามองไม่เห็นฝ่ามือ แสดงว่าน้ำนั้นมีอาหารธรรมชาติมากหากเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์
โดยให้อาหารผสม (รำ:เศษแผ่นยอ:ปลาป่นxกากถั่ว = 3:2:1)
วันละ 3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาทั้งหมด
การให้อาหาร การให้อาหารเป็นเรื่องสำคัญ
วันแรก ๆ ให้ทีละน้อย เพื่อเป็นการหัดให้ลูกปลารู้จักกินอาหารและให้สังเกตดูปริมาณอาหารที่ปลากินวันหนึ่ง
ๆ ด้วย และค่อย ๆ เพิ่มอาหารให้ทีละน้อย ๆ ถ้าให้มากเกินไปอาหารเหลือจะบูดเสีย
ทำให้น้ำเสีย เป็นอันตรายแก่ปลาในบ่อ
เวลาให้อาหาร ให้วันละ 2 เวลา คือ 3 โมงเช้า และ 2 โมงเย็น
เวลาจะให้อาหารควรมีสัญญาณ เช่น ใช้มือตีน้ำ เป็นต้น ประมาณ
7 วัน ปลาได้ยินสัญญาณ จะว่ายน้ำมากินอาหารเป็นฝูง ทั้งนี้
ควรสังเกตปริมาณและชนิดของอาหารที่ให้ ถ้ามีโปรตีนสูง
ปลาจะเจริญเติบโตเร็ว การให้อาหารเช่นนี้มีผลดี คือ
1. ทำให้รู้จำนวนปลา
2. รู้ว่าปลาเป็นโรคหรือไม่ เพื่อคัดตัวที่ไม่ต้องการออก
3. สังเกตได้ว่าปลาหายไปหรือไม่
4. ทำให้ปลาโตเร็วยิ่งขึ้น และเลี้ยงได้หนาแน่นกว่าการให้กินอาหารจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
การให้อาหารปลายี่สกขนาดโต ควรเพิ่มกากถั่วแผ่น ปลาป่น
สาหร่าย ผักบุ้ง รำ ปลายข้าวต้ม บดผสมกัน คลุกกับข้าวสุก
หรืองาคั่วอย่างละเอียด 10 เปอร์เซ็นต์
การเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตของปลายี่สก นอกจากเรื่องอาหารแล้ว
การระบายน้ำ การเปลี่ยนน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้
อย่าปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นเกินไป เมื่อเลี้ยงได้ 1
ปี จะมีน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย แต่การซื้อขายในตลาด
มักนิยมปลาซึ่งมีขนาดหนักกว่า 4 กิโลกรัมขึ้นไป
การแบ่งเลี้ยงและการคัดขนาด เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก
ถ้าหนาแน่นเกินไป ปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาโตขึ้น
ต้องการเนื้อที่มาก ปลาใหญ่จะแย่งอาหารปลาเล็ก การคัดขนาดควรกระทำทุก
6 เดือนต่อครั้ง
ศัตรู
ศัตรูลูกปลายี่สก ได้แก่ คางคก กบ แมลงวัยอ่อน นอกจากนี้มีเห็บ
หนอนสมอ งูกินปลา ปลาช่อน และนกกินปลา สำหรับนกกินปลาจะมากินปลาขณะที่ฝูงปลาขึ้นมากินอาหาร
บางครั้งอาจจะมีนกมาคอยจ้องจับกินปลาในขณะที่น้ำในบ่อเสีย
ปลาลอยหัว ซึ่งจะเป็นข้อสังเกตว่า มีเหตุผิดปกติได้เกิดขึ้นในบ่อแล้วอีกประการหนึ่งด้วย
ผลผลิตต่อไร่
ปลายี่สกไทยที่เลี้ยงด้วยความหนาแน่น 1 ตัว/ต่อตารางเมตร
มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงกว่าการเลี้ยงด้วยความหนาแน่น
2 ตัว/ตารางเมตร ประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อใกล้เคียงกัน
และมีแนวโน้มว่าน่าจะเลี้ยงเป็นการค้าได้
ต้นทุนการผลิต
ต้นทุนการผลิตเนื้อปลายี่สกไทย โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ
41.04 บาท
1 ตัว/ตารางเมตร เท่ากับ 54.50 บาท
1 ตัว/ 2 ตารางเมตร เท่ากับ 63.00 บาท
หมายเหตุ ราคาอาหาร (12.50 บาท/อาหารปลา 1 กก.) อัตราการรอด
ประมาณ 90%
แนวโน้มการเลี้ยงปลายี่สกในอนาคต
ปลายี่สกเป็นปลาที่ค่อนข้างจะหายากในปัจจุบัน
เมื่อเปรียบเทียบกับปลาน้ำจืดด้วยกันแล้ว นับได้ว่ามีราคาสูงที่สุด
ทั้งนี้สามารถนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของปลามาใช้ประโยชน์
อาทิ เนื้อ หนัง เกล็ด มีรสชาติอร่อย ดังนั้น หากการเลี้ยงปลายี่สก
ได้รับความสนใจอย่างจริงจัง ก็จะทำให้มีเนื้อปลายี่สกรับประทานโดยไม่ต้องรอฤดูกาลอีกต่อไป
|