จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาสลิด ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด และอื่นๆ บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
ที่ตั้งฟาร์มปลา 120/2 หมู่ 3 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
089-856-3941 (เจ๊ประนอม)
062-446-5364 (มดดำ)


บริการส่ง Order ขั้นต่ำ 15,000 บาท

ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีด้วยประสบการณ์ด้านการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 30 ปี ฟาร์มของเรามีความใส่ใจและเชี่ยวชาญในการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง สายพันธุ์ดี ปลอดโรค เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลา อีกทั้งเรายังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ได้ขนาดมาตราฐานและมีความแข็งแรงอัตราการรอดสูง เพื่อส่งถึงมือเกษรกรไทยผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วภูมิภาค พันธุ์ปลาคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม แก้วงาม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืด
บทความที่น่าสนใจ
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงลูกปลาแบบพัฒนา
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย ความหลากหลายของปลาน้ำจืด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
ปลาชะโด
ปลาบึก
ปลาเสือตอ ปลานิล ปลานวลจันทร์
ปลาสวาย ปลาดุก
ปลาสลิด
ปลายี่สก
ปลากราย
ปลาเทโพ
ปลาไน ปลากระโห้ ปลากดคัง
ปลาทับทิม
ปลากะพงน้ำจืด  

การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา


ลูกปลาสวาย

การเลี้ยงปลาคือการนำปลามาเลี้ยงเพื่อจะได้จับเป็นอาหารหรือขายเป็นรายได้แก่ผู้เลี้ยง ซึ่งการเลี้ยงปลาจะทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากแผ่นดินและผืนน้ำได้มากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอาหารเพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้ และเนื้อปลายังมีโปรตีนสูงและย่อยง่ายอีกด้วย
ปัจจัยและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงปลา

1. ต้องเลือกทำเลที่เหมาะสม
ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้สะดวก ลักษณะของดินควรอุ้มน้ำได้ดี เช่นดินเหนียว ซึ่งบ่อเลี้ยงปลาควรขุดในพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ไม่ควรสร้างในที่ลาดเอียงมากหรือที่น้ำท่วมถึง และบ่อเลี้ยงปลาควรอยู่กลางแจ้ง และควรอยู่ใกล้บ้านจะได้ปลอดภัยจากขโมย และดูแลรักษาปลาได้สะดวก

2. การขุดบ่อปลา
- ขั้นแรกคือการวางผังหรือกำหนดเขตวางแนวบ่อปลาลงบนผืนดินที่เลือกแล้ว โดยกำหนดให้แต่ละด้านยาวประมาณ 14 เมตร โดยให้เป็นความยาวของบ่อด้านละ 10 เมตร ส่วนอีกด้านละ 2 เมตรเป็นขอบบ่อแต่ละด้าน จากนั้นให้ถางพื้นที่ให้ปราศจากต้นไม้ พุ่มไม้ และหญ้า ขุดตอและรากไม้ออกให้หมด
- ขุดดินผิวหน้าลึกประมาณ 20 ซม.ออกให้ทั่วบริเวณที่จะขุดบ่อปลาแล้วนำไปกองรวมไว้ด้านข้าง จากนั้นจึงทำการขุดบ่อปลาแล้วควรปรับก้นบ่อให้เรียบโดยปรับให้ลาดเอียงจากตื้นไปหาลึก บ่อข้างที่ตื้นควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณหัวเข่า ส่วนบ่อข้างที่ลึกควรให้มีระดับน้ำลึกประมาณเอว จากนั้นนำดินผิวหน้าที่ขุดออกซึ่งกองอยู่ริมบ่อไปถมที่ขอบบ่อ ( กว้าง 2 เมตร ) สร้างให้เป็นคันบ่อ แต่ไม่ควรสร้างให้ขอบบ่อชันเกินไป แต่ควรทำให้เอียงลาดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของขอบ่อ จากนั้นให้กระทุ้งดินที่ขอบบ่อให้แน่นเพื่อให้ขอบบ่อแข็งแรงเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำในบ่อและป้องกันการรั่วซึมของขอบบ่อ
- เมื่อขุดบ่อเสร็จแล้ว ในการระบายน้ำเข้าบ่อควรทำทางน้ำเข้าบ่อด้านน้ำตื้นให้ท่อระบายน้ำอยู่เหนือระดับน้ำในบ่อเพื่อระบายน้ำได้สะดวกและควรทำท่อระบายน้ำออกจากบ่อด้านน้ำลึกเพื่อป้องกันไมให้น้ำล้นบ่อเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าบ่อมากเกินไปซึ่งท่อน้ำเข้าและท่อน้ำออกนี้สามารถทำได้โดยใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องมาใช้เป็นท่อระบายน้ำ
- เมื่อขุดบ่อปลาเสร็จแล้วนำดินผิวหน้าที่ขุดกองไว้ไปตบแต่งคันดินแล้วปลูกหญ้าบนคันดินเพื่อป้องกันดินพังทะลายหรือถูกชะล้างไหลลงบ่อเวลาฝนตกหรือจะปลูกพืชผัก เช่น มะละกอ พริก มะเขือหรือมะพร้าวแทนหญ้าก็ได้

3. การระบายน้ำเข้าบ่อปลา
ทำได้โดยใช้ลำรางเล็กๆซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดและถ้าเป็นการระบายน้ำมาจากลำธารควรระมัดระวังอย่าให้ปลาชนิดอื่นติดมาด้วยซี่งสามารถป้องกันได้โดยใช้ตะแกรงตาถี่ขวางกั้นที่ปากท่อน้ำเข้าบ่อ และถ้าหากไม่มีตะแกรงตาถี่ก็สามารถใช้กับดักปลา เผือกไม้ไผ่ หม้อดินที่เจาะรูที่ก้น หรือกระป๋องนมที่เจาะรูที่ก้นใช้สวมที่ท่อไม่ไผ่

4. การใส่ปุ๋ยในบ่อปลา
เป็นการช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้แก่ปลาในบ่อซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยสร้างเป็นคอกเล็กๆไว้ริมขอบบ่อด้วยไม่ไผ่หรือไม้อื่นๆที่ขอบบ่อด้านน้ำตื้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในคอกที่เตรียมไว้ ต่อมาน้ำในบ่อก็จะเป็นสีเขียวแสดงว่าเกิดอาหารธรรมชาติในบ่อเพิ่มขึ้นวึ่งจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็วขึ้นและเพื่อรักษาน้ำในบ่อปลาให้เขี้ยวอยู่เสมอให้ใส่ปุ๋ยในคอกหนึ่งถังทุกสัปดาห์ ซึ่งการทำปุ๋ยคอก มีวิธีการทำดังนี้
- เตรียมกองปุ๋ยคอกไว้ใกล้ๆบ่อปลาให้อยู่ในที่ร่ม จะได้ไม่เปียกฝน
- การทำปุ๋ยคอกให้เตรียมเป็นชั้นๆ ชั้นแรกเป็นพวกหญ้า หรือใบไม้ ผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดิน แล้วรดน้ำให้เปียกกชุ่มเพื่อช่วยให้หญ้าและใบไม้เน่าสลายตัวเร็วขึ้น
- ชั้นที่ 2 เป็นชั้นของมูลสัตว์โดยผสมคลุกเคล้ากับดินจากผิวหน้าดินแล้วรดด้วยน้ำให้เปียกชุ่ม ส่วนมูลสัตว์ที่ใช้ได้จากสัตว์หลายชนิด เช่น หมู ไก่ เป็ด แกะ แพะ วัว ควาย ในกรณีที่หาข้อมูลยากอาจใช้เมล็ดฝ้าย ผลไม้เน่าเสีย ขยะจากบ้านเรือน ขี้เถ้า หรืออุจจาระมนุษย์แทนได้
- ชั้นถัดมา และชั้นของหญ้าและใบไม้และชั้นของฒูลสัตว์สลับกันไปจนได้ขนาดของกองปุ๋ยตามต้องการ
- จากนั้นรักษากองปุ๋ยคอกให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยรดน้ำ 2-3 วันแล้วปล่อยให้ปุ๋ยคอกสลายตัวไปเองซึ่งใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน และเวลาจะใช้ให้โกยปุ๋ยคอกจากชั้นล่างหรือส่วนที่สลายตัวมากที่สุดนำไปใส่ในบ่อปลา จากนั้นก็ให้เพิ่มปุ๋ยในกองปุ๋ยทุกสัปดาห์จะได้มีปุ๋ยใช้อย่างสม่ำเสมอ
การปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อ
ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อควรจะมีการเตรียมลูกพันธุ์ปลาให้พร้อม ซึ่งอาจจะหาได้จากแหล่งเลี้ยงปลาอกชนหรือสถานีประมง ในการปล่อยปลาลงเลี้ยงไม่ควรปล่อยหนาแน่นกเกินไป เพราะปลาจะโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าที่ควร และถ้าหากต้องการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการประมง
ในการปล่อยปลาควรตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำในบ่อปลาปละน้ำจากถุงลำเลียงปลาไม่ควรแตกต่างกันจนเกินไป ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่ายโดยใช้มือข้างหนึ่งจุ่มในน้ำที่บรรจุลูกปลาอีกข้างจุ่มลงในบ่อเลี้ยงปลา และในการปล่อยควรค่อยๆเติมน้ำจากบ่อปลาลงไปในภาชนะที่บรรจุลูกปลาจนกระทั้งน้ำมีอุณหภูมิเท่ากัน ไม่ควรเทปลาจากภาชนะลงในบ่อโดยตรง

การให้อาหารปลา
ในการเลี้ยงปลาควรให้อาหารปลาวัน ซึ่งปลาสามารถกินอาหารได้หลายอย่าง เช่น
- หยวก
- ใบมันสำปะหลัง และกากมันสำปะหลัง
- กากเมล็ดพืช เช่น กากถั่ว
- รำ
- ข้าวสุก
- พืชผักต่างๆ
- เลือดสัตว์-เครื่องในสัตว์
- ผลไม้เน่า
- เศษอาหาร
และในการอาหารปลาควรให้ในบริเวณบ่อด้านที่ตื้นจะได้สังเกตเห็นปลากินอาหารได้สะดวก และควรให้อาหรมากพอที่ปลาจะกินหมดในแต่ละครั้งไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ถ้าปลาสุขภาพดีปลาจะกินอาหารได้มากและรวดเร็ว และถ้าปลากินอาหารไม่หมดควรลดปริมาณอาหารที่ให้ในวันถัดไปแต่ถ้าแลากินอาหารหมดอย่างรวดเร็วควรเพิ่มอาหารอีกเล็กน้อยในวันถัดไปและอย่าลืมเติมปุ๋ยคอก 1 ถัง ทุกสัปดาห์ลงในคอกที่เตรียมไว้ริมบ่อ

การดูแลรักษาบ่อ
ในการเลี้ยงปลาควรมีการดูแลรักษาบ่อโดยตรวจสภาพบ่อปลาทุกวัน เพื่อสำรวจดูความเรียบร้อย เช่น ดูระดับน้ำในบ่อ ตะแกรงกั้นน้ำเข้าออกและควรหมั่นกำจัดวัชพืช หรือหญ้าที่ขึ้นริมบ่อ หากพบรอยรั่วของบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที และควรกำจัดศัตรูของปลาให้หมด

การจับปลา
อย่าจับปลาในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากนั้นอาจจับปลาได้ขนาดสัปดาห์ละ 4-5 ตัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน และเมื่อปลาโตได้ขนาดประมาณ 6 เดือนก็สามารถจับขายได้



 

ที่มา:ธีรพันธ์ ภูคาสวรรค์.2529. คู่มือเลี้ยงปลาน้ำจืดแบบพัฒนา. ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 60หน้า.
กมลศิริ พันธนียะ ( ผู้เรียบเรียง )

 

 

 
 

ปริมาณจัดส่งพันธุ์ปลาถึงบ่อ
ลูกค้าขั้นต่ำ 15,000 บาท
ต่ำกว่ารบกวนมารับที่ฟาร์ม
เรายินดีต้อนรับค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 
 
   
  เทคนิคการเลี้ยงปลาน้ำจืด
  การเลี้ยงปลานิลหมัน
   
  ข้อมูลปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
 
ปลากราย
ปลาชะโด
ปลาดุกอุย
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาบู่ทราย
ปลาลิ้นหมา
ปลาสลาด
ปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูขาว
ปลาไหล
ปลาตะเพียนทราย
ปลาสวาย
ปลาสร้อยขาว
ปลานวลจันทร์

ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน
ปลาเทโพ
ปลาบึก
ปลายี่สก
ปลาสร้อยเกล็ดถี่

ปลาสลิด
ปลาหมอ
ปลาหลด
ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนทอง
ปลาหมอเทศ
ปลาสังกะวาด
  พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย
 
กดหิน แขยงหิน
กระดี่นาง
กะสูบขีด
กา เพี้ย
เข็ม
แขยงธง
เค้าขาว
ช่อนงูเห่า
ตองลาย
ตะพาก ปีก
บึก ไตรราช
ม้า กวาง
เวียน
ปลานิล
กระดี่หม้อ
กะทุงเหว
กะแหทอง
แก้มช้ำ
ลูกผึ้ง อีดูด
เสือพ่นน้ำ
หางไหม้
กดเหลือง
กะทิงดำ หลาด
กะสูบจุด
ก้างพระร่วง
แขยงข้างลาย
คางเบือน
จีด
ดุกลำพัน
ตะโกก โจก
ตูหนา ไหลหูดำ
พรมหัวเหม็น
แรด เม่น มิ่น
หัวตะกั่ว หัวเงิน
ปลาทับทิม
กะทิงไฟ
กระมัง
กระโห้
พลวงหิน
เสือตอ
หมอตาล
   
  สายพันธุ์ปลาสวยงาม
 
ซัคเกอร์
กระดี่หม้อ
ปลาหมอสี
ปลาหางนกยูง
ปลาทอง
ปลาคาร์พ
ปลาเทวดา
ปลาตะพัด

กระดี่แคระ
ปลากัดไทย
สอดแดง
ปลาปอมปาดัวร์
ปลากาแดง
ปลาเซลฟิน
ปลาม้าลาย
  แหล่งรวมความรู้เรื่องปลา
  ปลากดเหลือง
ปลาไน (VDO)
ปลาบึก (VDO)
   
  บทความน่าสนใจ
 

การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง
การเลี้ยงลาดุก
เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา
การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
การเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน
การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ชีววิทยาและการผสมพันธุ์ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย
ความหลากหลายของปลาน้ำจืด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)

  เอกสารการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
  บทความพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ
   
 
     
 
หน้าแรก | จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืืด | บทความน่าสนใจ | การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย | การเพาะพันธุ์ปลาสวาย | การเพาะพันธุ์ปลานิล | การเพาะพันธุ์ปลาแรด | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง | การเพาะพันธุ์ปลาทับทิม | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียน | การเพาะพันธุ์ปลายี่สก | การเพาะพันธุ์ปลาจีน | การเพาะพันธุ์ปลาไน | การเพาะพันธุ์ปลากระพง | การเพาะพันธุ์ปลาบึก | การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ | การเพาะพันธุ์ปลากราย | การเพาะพันธุ์ปลากระโห้ | คำถามที่พบบ่อย | จำหน่ายลูกปลา | ประทีปพันธุ์ปลา | ติดต่อฟาร์มพันธุ์ปลา

© Copyright ประทีปพันธุ์ปลา (Bestfish4u.com) จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด  All rights reserved.