จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาสลิด ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด และอื่นๆ บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
ที่ตั้งฟาร์มปลา 120/2 หมู่ 3 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
089-856-3941 (เจ๊ประนอม)
062-446-5364 (มดดำ)


บริการส่ง Order ขั้นต่ำ 15,000 บาท

ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีด้วยประสบการณ์ด้านการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 30 ปี ฟาร์มของเรามีความใส่ใจและเชี่ยวชาญในการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง สายพันธุ์ดี ปลอดโรค เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลา อีกทั้งเรายังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ได้ขนาดมาตราฐานและมีความแข็งแรงอัตราการรอดสูง เพื่อส่งถึงมือเกษรกรไทยผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วภูมิภาค พันธุ์ปลาคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม แก้วงาม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืด
บทความที่น่าสนใจ
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงลูกปลาแบบพัฒนา
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย ความหลากหลายของปลาน้ำจืด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
ปลาชะโด
ปลาบึก
ปลาเสือตอ ปลานิล ปลานวลจันทร์
ปลาสวาย ปลาดุก
ปลาสลิด
ปลายี่สก
ปลากราย
ปลาเทโพ
ปลาไน ปลากระโห้ ปลากดคัง
ปลาทับทิม
ปลากะพงน้ำจืด  

การเลี้ยงปลาในนาข้าว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรนานาชนิดสมดังคำกล่าวของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แต่ปัจจุบันคำกล่าวนี้กำลังจะสูญสิ้นความหมายไป ทั้งนี้เพราะสภาพบ้านเมืองได้พัฒนาขึ้นตามกาลสมัย ทำให้สภาพของแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำเปลี่ยนสภาพเสื่อมโทรมและตื้นเขินยิ่งขึ้นทุกวัน อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปริมาณปลาลดน้อยลง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพลเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปลายังเป็นอาหารจำพวกเนื้อที่สำคัญประจำมื้อประจำวันของคนไทยควบคู่ไปกับข้าว ทั้งยังเป็นอาหารโปรตีนจำพวกเดียวเท่านั้นที่พี่น้องชาวไทยได้พึ่งพาอาศัยเป็นอาหารหลักอยู่ เพราะอาหารประเภทเนื้อสัตว์อื่นๆ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวและ เป็ด ไก่ นับวันจะหายากและทั้งราคาแพงยิ่งขึ้น หากเปรียบเทียบในด้านคุณค่าของอาหารประเภทเนื้อสัตว์แล้ว เนื้อปลามีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังเป็นอาหารที่ย่อยง่ายที่สุด นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบบางอย่าง เช่น กรดอะมิโน ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างการสูงกว่าอาหารในจำพวกโปรตีนชนิดอื่นอีกด้วย
กรมประมงได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องเร่งผลิตสัตว์น้ำให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการประจำวันของประชาชน โดยได้ค้นคว้า ทดลอง และส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาในนาขึ้น ทั้งนี้ เพื่อมุ่งที่จะเพิ่มอาหารโปรตีนจากปลาและเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวนา โดยดัดแปลงผืนนาเดิมที่เคยทำอยู่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถเลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการปลูกข้าวได้

ปกติระหว่างฤดูทำนาในระยะนี้น้ำเอ่อนองเข้าผืนนา ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจะแพร่กระจายจากแม่น้ำ ลำคลอง เข้าไปอาศัยเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตในแปลงนาปีหนึ่ง ๆ เฉลี่ยแล้วประมาณ 4 กิโลกรัมเศษต่อไร่ ดังนั้นหากชาวนาจะคิดดัดแปลงผืนนาของตนที่ใช้ปลูกข้าวอยู่ให้มีการเลี้ยงปลาในผืนนาควบคู่ไปด้วยแล้ว นาข้าวซึ่งเคยได้ปลาเป็นผลพลอยได้พิเศษอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย ก็จะให้ผลผลิตปลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 กิโลกรัมต่อไร่หรือกว่านั้น โดยที่ประเทศไทยมีเนื้อที่นาทั่วทั้งประเทศประมาณ 43 ล้านไร่ หากสามารถคิดใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์นอกเหนือจากการปลูกข้าวแต่อย่างเดียวเพียงแค่ 1 ใน 100 ของเนื้อที่นาทั่วประเทศ โดยคัดเลือกแปลงนาที่เหมาะสม ดัดแปลงและปรับปรุงเพื่อใช้เลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการทำนา โดยปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะได้ผลผลิตจากปลาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหมื่น ๆ ตัน ซึ่งวิธีการนี้เป็นการเพิ่มอาหาร และรายได้บนผืนนาเดิมของพี่น้องชาวไทยนั่นเอง และจากวิธีการดังกล่าวนี้ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้ได้มากพอกับความต้องการของประเทศอีกด้วย
การเลี้ยงปลาในนานั้นมิใช่เป็นของใหม่ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียเลี้ยงปลาในนาข้าวได้ผลดีกันมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ในประเทศเราได้เริ่มทำกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2491 แต่เพิ่งจะสนใจเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายเพียงไม่กี่ปีมานี้เอง

ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว

1. ชาวนาสามารถใช้ประโยชน์จากผืนนาได้เต็มที่ ตามปกติในผืนนาจะมีอาหารธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ พืชและสัตว์เล็ก ๆ ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ปรากฏอยู่ทั่วไป อาหารธรรมชาติเหล่านี้ตามปกติแล้วมิได้มีการใช้ประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งถ้าหากชาวนาทำนาตามแบบที่ทางราชการแนะนำ คือ มีการใส่ปุ๋ยในแปลงนาด้วยแล้วอาหารธรรมชาติจะยิ่งสมบูรณ์มากขึ้น แต่อาหารธรรมชาติอันมีคุณค่านี้ถูกทอดทิ้งโดยมิได้ใช้ให้เป็นประโยชน์แต่อย่างใด หากชาวนาสนใจหันมาเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาที่เลี้ยงก็จะสามารถใช้อาหารธรรมชาติอันเป็นอาหารของปลาโดยเฉพาะให้เป็นประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยเปลี่ยนเป็นอาหารจำพวกโปรตีนในรูปของเนื้อปลาให้แก่เจ้าของนาและผู้เลี้ยงตลอดจนอาจเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่งด้วย
2. ปลาช่วยกำจัดวัชพืช ชาวนาย่อมตระหนักดีถึงความยุ่งยากในการกำจัดวัชพืชที่ขึ้นรกในแปลงนาในระหว่างทำนา วัชพืชจะแย่งอาหารจากต้นข้าวทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นาจะให้ผลผลิตต่ำ ชาวนาจะต้องเสียทั้งเวลาและเหน็ดเหนื่อยในการกำจัดวัชพืชดังกล่าว หากมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้วปลาจะช่วยกำจัดโดยกินวัชพืชนานาชนิดในแปลงนาเป็นอาหาร โดยชาวนาไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอีกด้วย
3. ปลาช่วยกำจัดศัตรูของต้นข้าว หนอนและตัวอ่อนของแมลงชนิดที่อยู่ในน้ำและที่ร่วงหล่นลงไปในนาอันเป็นศัตรูร้ายแรงของต้นข้าว จะกลับเป็นอาหารวิเศษสุดของปลา
4. ปลาช่วยพรวนดินในนา จากการที่ปลาว่ายวนเวียนในน้ำรอบ ๆ กอข้าวบนผืนนา การเคลื่อนไหวของครีบและหางปลาจะช่วยพัดโบกมวลดินในผืนนามิให้ทับอัดกันแน่น อันเป็นเสมือนการพรวนดินให้แก่ต้นข้าว ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงามขึ้นกว่าปกติ
5. ปลาช่วยเพิ่มปุ๋ย มูลและสิ่งขับถ่ายจากปลาซึ่งประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน และอื่น ๆ จะเป็นปุ๋ยโดยตรงสำหรับต้นข้าว
6. การเลี้ยงปลาในนาข้าว ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นกว่าการปลูกข้าวแต่เพียงอย่างเดียว

การเลือกสถานที่
ผืนนาทุกแห่งมิใช่จะเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาในนาเสมอไปการเลี้ยงปลาในนาข้าวจึงมักจะมีอุปสรรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องน้ำ เช่นในบางท้องที่อาศัยเฉพาะน้ำฝน หรือบางที่ชาวนาไม่สามารถรักษาระดับน้ำในผืนนาไว้ได้ตลอดระยะเวลาที่ต้องการ ดังนั้น หากเพียงแต่นาที่จะเลี้ยงปลาสามารถเก็บกักน้ำในผืนนาไว้ให้ได้มากกว่าปกติเพียงประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เป็นอย่างน้อยตลอดฤดูกาลทำนาและทั้งสามารถควบคุมปริมาณน้ำโดยไม่ให้ท่วมผืนนาได้อีกด้วยแล้ว นาแปลงนั้นก็สามารถที่จะเลี้ยงปลาในนาได้ผลดี จึงควรที่จะยึดหลักในการเลือกผืนนาให้มีสภาพดังนี้
1. อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หนอง บึง ลำราง ทางน้ำไหลที่สามารถนำน้ำเข้าแปลงนาได้ แปลงนาที่อาศัยน้ำฝนทำนาแต่เพียงอย่างเดียวควรเก็บกักน้ำได้ไม่น้อยกว่า 90 วัน
2. ไม่เป็นที่ลุ่มจนน้ำท่วม หรือที่ดอนเกินไปจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้
3. สะดวกต่อการดูแลรักษา
4. พื้นที่ที่ปลูกข้าวได้ผลดีจะสามารถดัดแปลงมาทำการเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าวได้

ขนาดของแปลงนาข้าว
แปลงนาที่เลี้ยงปลาในนาข้าว จะมีขนาดและรูปร่างอย่างไรก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่ และความพร้อมของผู้เลี้ยง แต่แปลงขนาดตั้งแต่ 5 ไร่ขึ้นไปจะมีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

การเตรียมแปลงนาข้าว
การเตรียมแปลงนาเพื่อใช้เลี้ยงปลาในผืนนาไปด้วยนั้น ควรเตรียมให้เสร็จก่อนระยะเตรียมดินและไถคราด โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. แปลงนาที่เป็นที่ลุ่มและสามารถเก็บกักน้ำได้ลึกอย่างน้อย 1 ศอก (50 เซนติเมตร) ตลอดฤดูทำนา ควรเสริมคันนาให้สูงขึ้นจากระดับพื้นนาเดิมประมาณ 3 คืบ (80 เซนติเมตร) และมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและการพังทลายของคันนา
2. แปลงนาที่มีบ่อล่อปลาอยู่แล้ว ก็ให้ดัดแปลงโดยเสริมคันนาให้แข็งแรงสามารถเก็บน้ำได้ลึกอย่างต่ำ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) โดยให้พื้นที่ของแปลงนามีขนาดประมาณ 10 เท่า ของพื้นที่บ่อล่อปลา
3. และเพื่อความสะดวกในการจับปลา จึงสมควรขุดบ่อปลาบริเวณที่ลึกที่สุดของแปลงนา เพื่อให้ปลามารวมกันในขณะที่ลดระดับน้ำในแปลงนาข้าว โดยมีพื้นที่ประมาณ 5-10 ตารางวา (20-40 ตารางเมตร) แล้วแต่ขนาดของแปลงนาและลึกกว่าร่องนาประมาณ 1 ศอก (50 เซนติเมตร)
4. บ่อรวมปลานี้ยังใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ คือ มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งเหมาะที่จะปล่อยเลี้ยงในแปลงนาได้ดี โดยการอนุบาลลูกปลาไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนถึงฤดูทำนา
5. พันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์ข้าวที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำในแต่ละท้องถิ่นหากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้ข้าวพันธุ์หนักที่สามารถอยู่ในนาได้นานวัน

พันธุ์ปลาที่ควรเลี้ยงในนาข้าว
พันธุ์ปลาที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในนาข้าว ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. เลี้ยงง่าย
2. เติบโตเร็ว
3. อดทน
4. หาพันธุ์ได้ง่าย
5. ไม่ทำลายต้นข้าว
6. เนื้อมีรสดีเป็นที่นิยมของท้องถิ่น

พันธุ์ปลาดังกล่าว ได้แก่ ปลาไน ปลาตะเพียนขาว ปลานิล ปลานวลจันทร์เทศ และปลาหัวโต หรือปลาซ่ง ซึ่งปลาต่าง ๆ เหล่านี้กินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา ประเภทพืชและสัตว์เล็ก ๆ ได้ดีจึงโตเร็ว และนอกจากนี้ยังกินอาหารเสริมต่าง ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นอีกด้วย
แปลงนาซึ่งเป็นที่ลุ่มและพื้นนาลาดเอียงบางด้าน ก็ให้ใช้ด้านต่ำเป็นที่พักปลาโดยขุดดินด้านนี้มาเสริมคันนาให้สูงขึ้นมากพอที่จะเก็บกักน้ำให้ท่วมที่ดอนได้ ประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)
แปลงนาที่อยู่ในพื้นที่ราบและไม่เป็นที่ลุ่มเกินไป ควรขุดร่องรอบผืนนาให้มีความกว้าง 2 ศอก (1 เมตร) ลึก 3-4 คืบ (80 เซนติเมตร - 1 เมตร) แล้วนำดินที่ขุดขึ้นเสริมคันนาให้สูงจากระดับผืนนาเดิมประมาณ 1 ศอก (50 เซนติเมตร) เพื่อเก็บกักน้ำให้ท่วมแปลงนาได้ลึก 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร)

ช่วงเวลาการปล่อยปลา
หลังจากไถคราดและปักดำเสร็จเรียบร้อยแล้วประมาณ 15-20 วัน เมื่อเห็นว่าต้นข้าวแข็งแรง และรากยึดติดดินดีแล้ว จึงนำปลาไปปล่อยลงเลี้ยง

ขนาดและจำนวนพันธุ์ปลา
ขนาดและจำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงในนาแปลงหนึ่ง ๆ นั้นควรใช้ปลาขนาดความยาว 5-10 เซนติเมตร เพราะเป็นปลาขนาดที่เติบโตได้รวดเร็ว และพอที่จะเลี้ยงตัวหลบหลีกศัตรูได้ดี
จำนวนปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงนั้น ควรปล่อยในอัตราที่เหมาะสมต่อเนื้อที่นาอย่าให้มากหรือน้อยเกินไป หากมากเกินแล้วปลาจะเจริญเติบโตช้า เพราะปลาจะแย่งที่อยู่อาศัยและแย่งอาหารกันเอง ในเนื้อที่นา 1 ไร่ควรปล่อยปลาลงเลี้ยงประมาณ 400-800 ตัว แล้วแต่ขนาดของปลาหรือถ้าจะเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันควรใช้สัดส่วนของปลาไนต่อปลาตะเพียนต่อปลานิล เท่ากับ 4 ต่อ 2 ต่อ 2 จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือปล่อยปลาไน ปลาตะเพียน และปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร อัตรา 500 ตัวต่อไร่ รวมกับปลาจีน 30-50 ตัวต่อไร่ ใช้เวลาเลี้ยง 6 เดือน จะได้ขนาดตลาดต้องการ และหากแปลงนามีน้ำสมบูรณ์อาจพิจารณาปล่อยปลาหัวโตหรือปลานวลจันทร์เทศอย่างหนึ่งอย่างใดหรือรวมกันเสริมลงไป ไม่เกิน 10-20 ตัวต่อพื้นที่ 1 ไร่ก็ได้ หลังจากปล่อยพันธุ์ปลาลงในแปลงนาแล้วในสัปดาห์ที่ 1-2 ควรให้อาหารสมทบแก่ลูกปลาขนาดเล็ก พวกรำละเอียดโปรยให้บริเวณที่ปล่อยปลาหลังจากนั้นจึงปล่อยให้ปลาหาอาหารกินเองในแปลงนา

อาหารและการให้อาหาร
การเลี้ยงปลาในนาเป็นการให้อาหารธรรมชาติในผืนนาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ แต่อาหารธรรมชาตินี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของปลา จำเป็นต้องเร่งให้เกิดอาหารธรรมชาติ โดยการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบ
ปุ๋ย ปุ๋ยที่เหมาะสมได้แก่ มูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นใส่ในอัตราเดือนละ 50-80 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่านในร่องนาหรือกองไว้ที่มุมแปลงนาด้านใดด้านหนึ่งแล้วแต่ความสะดวก หรือผสมใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักก็ได้ ส่วนการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นั้นสามารถใส่ได้ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำ
อาหารสมทบ ได้แก่ รำ ปลายข้าวต้มผสมรำ ปลวก แมลง ผัก และหญ้า ชนิดที่ปลากินได้ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้การปลูกสร้างคอกสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ไว้บนแปลงนาจะเป็นการเพิ่มอาหารปลาเนื่องจากมูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยแก่ปลาได้ด้วย

การดูแลรักษา
1. ศัตรู โดยทั่วไปได้แก่ ปลาช่อน งู กบ เขียด หนู และนกกินปลา ก่อนปล่อยปลาจึงควรกำจัดศัตรูภายในผืนนาออกให้หมดเสียก่อน และควรระมัดระวังโดยพยายามหาทางป้องกันศัตรูที่จะมาภายหลังอีกด้วย
2. ระดับน้ำ ควรจะรักษาระดับน้ำให้ท่วมผืนนาหลังจากปล่อยปลาแล้วจนถึงระยะเก็บเกี่ยวอย่างน้อยประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) เพื่อปลาจะได้หากินบนผืนนาได้ทั่วถึง
3. หมั่นตรวจสอบคันนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันคันนารั่วซึมและพังทลาย สาเหตุมักเกิดจากการเจาะทำลายของปูนา และฝนตกหนัก
4. ยาปราบศัตรูพืช ไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืชในแปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาร่วมอยู่ด้วย เพราะยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืชส่วนใหญ่เป็นอันตรายต่อปลาแม้ใช้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ปลาถึงตายได้ แต่ในกรณีที่ต้นข้าวเกิดโรคระบาดจำเป็นจะต้องฉีดยาฆ่าแมลง ควรจับปลาออกให้หมดเสียก่อน
5. การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ชนิดเม็ดที่ละลายได้ยากจะต้องระมัดระวังให้มากเพราะปลาอาจจะกินปุ๋ยทำให้ตายได้ ควรละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วผืนนา

ผลผลิตที่ได้
การเลี้ยงปลาในนาข้าวนอกจากจะได้ข้าวตามปกติแล้ว จากผลการทดลองพบว่าแปลงนาที่มีการเลี้ยงปลาควบคู่กับการปลูกข้าว จะได้ข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณไร่ละ 5 ถัง นอกจากนี้ยังได้ปลาอีกอย่างน้อยประมาณไร่ละ 20 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหากมีการใส่ปุ๋ยและให้อาหารสมทบด้วยแล้วจะได้ผลผลิตปลาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 5 เท่า
การเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นอาชีพที่ชาวนาสามารถปฏิบัติได้เกือบตลอดปีเพราะนอกจากจะเลี้ยงปลาในนาในระยะที่ทำนาตามปกติแล้วหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวในนาเสร็จ ชาวนายังสามารถใช้ผืนนาเดิมเลี้ยงปลาในระยะหลังการเก็บเกี่ยวได้อีกในกรณีที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเพิ่มระดับน้ำให้ท่วมผืนนาอย่างน้อยประมาณ 1-2 คืบ (30 เซนติเมตร) ตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงปลา ผืนนาที่เคยถูกทอดทิ้งให้แห้งแล้งปราศจากประโยชน์จะกลับกลายสภาพเป็นบ่อเลี้ยงปลา ซังข้าวและวัชพืชบนผืนนาจะเน่าสลายกลายเป็นอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์แก่ปลา เป็นการใช้ประโยชน์จากผืนนาอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะถึงฤดูทำนาตามปกติ
การเลี้ยงปลาในนาข้าวเป็นการเพิ่มผลผลิตแก่พี่น้องชาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารได้เป็นอย่างดี หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะช่วยให้ชาวนามีการกินดีอยู่ดี กับทั้งจะเป็นการเสริมสร้างรายได้ของครอบครัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นยังทำให้ชาวนาใช้ผืนนาในฤดูทำนาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และแม้แต่หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวนายังสามารถใช้ผืนนาให้เป็นประโยชน์ด้วยการเลี้ยงปลาได้อีก จึงควรที่พี่น้องชาวนาจะได้ริเริ่มดัดแปลงผืนนาของตนให้เกิดประโยชน์แก่ครอบครัว อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้นไป

คำแนะนำ
การป้องกันสัตว์น้ำจากภัยธรรมชาติ
"ภัยธรรมชาติ" หมายถึง อันตรายจากสิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมชาติ ของสิ่งนั้น ๆ โดยมิได้มีการปรับปรุง อาทิ อุทกภัย และฝนแล้ง เป็นต้น กรมประมง จึงขอเสนอแนวทางป้องกันหรือลดความสูญเสียและความเสียหายแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากการประสบภาวะฝนแล้ง ฝนต้นฤดูและอุทกภัย ดังนี้

ภาวะฝนแล้ง
ภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงทำให้ปริมาณน้ำมีน้อยทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและแหล่งน้ำชลประทานซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเกิดผลกระทบต่อการประมง ตลอดจนสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ โดยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีการสูญเสียน้อย เช่น การรั่วซึม การกำจัดวัชพืช
2. ทำร่มเงาให้สัตว์น้ำเข้าพักและป้องกันการระเหยน้ำบางส่วน
3. ลดปริมาณการให้อาหารสัตว์น้ำที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้น้ำเสีย
4. เพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยใช้เครื่องสูบน้ำจากก้นบ่อพ่นให้สัมผัสอากาศแล้วไหลคืนลงบ่อ
5. ปรับสภาพดินและคุณสมบัติของน้ำ เช่น น้ำลึก 1 เมตร ใส่ปูนขาว 50 กก./ไร่ ถ้าพื้นบ่อตะไคร่หรือแก๊สมากเกินไปควรใส่เกลือ 50 กก./ไร่ เพื่อปรับสภาพผิวดินให้ดีขึ้น
6. จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นจำหน่ายหรือบริโภคในเวลาเช้าหรือเย็น เพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อ
7. ตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำจากภายนอกที่จะสูบเข้าบ่อเลี้ยง เช่น พบว่ามีตะกอนและแร่ธาตุต่าง ๆ เข้มข้น ควรงดการสูบน้ำเข้าบ่อ
8. งดเว้นการรบกวนสัตว์น้ำเพราะการตกใจจะทำให้สัตว์น้ำสูญเสียพลังงานและอาจตายได้
9. งดเว้นการขนย้ายสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องทำอย่างระมัดระวัง
10. แจ้งความเสียหายตามแบบฟอร์มกรมประมง เพื่อการขอรับความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง และรวดเร็ว

ภาวะฝนต้นฤดู

การเตรียมการรับภาวะฝนต้นฤดู เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่ควรสูบน้ำฝนแรกเข้าบ่อ เพราะน้ำจะพัดพาสิ่งสกปรกจากผิวดินลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ควรปล่อยให้น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น จึงนำน้ำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. ควรสูบน้ำในบ่อให้สัมผัสอากาศจะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนและป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำ
3. ป้องกันการไหลของน้ำฝนที่จะชะล้างแร่ธาตุและสารเคมีจากผิวดินลงสู่บ่อ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้
4. งดการรบกวน การจับและขนย้ายสัตว์น้ำ ควรรอจนกว่าคุณสมบัติของน้ำมีสภาพดีเป็นปกติ
5. งดจับสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ เนื่องจากสัตว์น้ำจะผสมพันธุ์หลังจากฝนตกใหม่ ๆ
ภาวะอุทกภัย
การป้องกันสัตว์น้ำสูญหายจากภาวะอุทกภัยควรปฏิบัติตามสภาวะการณ์ก่อนเกิดภาวะอุทกภัย คือให้จับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดตลาดต้องการออกจำหน่าย ก่อนช่วงมรสุมในฤดูฝน พร้อมทั้งสร้างกระชังไนลอน กระชังเนื้ออวน บ่อซีเมนต์ หรือขึงอวนไนลอน เพื่อกักขังสัตว์น้ำ

"สัตว์น้ำจะปลอดภัย ให้ป้องกันหมั่นดูแล"


ที่มา sangputsorn.com










 

 

 
 

ปริมาณจัดส่งพันธุ์ปลาถึงบ่อ
ลูกค้าขั้นต่ำ 15,000 บาท
ต่ำกว่ารบกวนมารับที่ฟาร์ม
เรายินดีต้อนรับค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 
 
   
  เทคนิคการเลี้ยงปลาน้ำจืด
  การเลี้ยงปลานิลหมัน
   
  ข้อมูลปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
 
ปลากราย
ปลาชะโด
ปลาดุกอุย
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาบู่ทราย
ปลาลิ้นหมา
ปลาสลาด
ปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูขาว
ปลาไหล
ปลาตะเพียนทราย
ปลาสวาย
ปลาสร้อยขาว
ปลานวลจันทร์

ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน
ปลาเทโพ
ปลาบึก
ปลายี่สก
ปลาสร้อยเกล็ดถี่

ปลาสลิด
ปลาหมอ
ปลาหลด
ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนทอง
ปลาหมอเทศ
ปลาสังกะวาด
  พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย
 
กดหิน แขยงหิน
กระดี่นาง
กะสูบขีด
กา เพี้ย
เข็ม
แขยงธง
เค้าขาว
ช่อนงูเห่า
ตองลาย
ตะพาก ปีก
บึก ไตรราช
ม้า กวาง
เวียน
ปลานิล
กระดี่หม้อ
กะทุงเหว
กะแหทอง
แก้มช้ำ
ลูกผึ้ง อีดูด
เสือพ่นน้ำ
หางไหม้
กดเหลือง
กะทิงดำ หลาด
กะสูบจุด
ก้างพระร่วง
แขยงข้างลาย
คางเบือน
จีด
ดุกลำพัน
ตะโกก โจก
ตูหนา ไหลหูดำ
พรมหัวเหม็น
แรด เม่น มิ่น
หัวตะกั่ว หัวเงิน
ปลาทับทิม
กะทิงไฟ
กระมัง
กระโห้
พลวงหิน
เสือตอ
หมอตาล
   
  สายพันธุ์ปลาสวยงาม
 
ซัคเกอร์
กระดี่หม้อ
ปลาหมอสี
ปลาหางนกยูง
ปลาทอง
ปลาคาร์พ
ปลาเทวดา
ปลาตะพัด

กระดี่แคระ
ปลากัดไทย
สอดแดง
ปลาปอมปาดัวร์
ปลากาแดง
ปลาเซลฟิน
ปลาม้าลาย
  แหล่งรวมความรู้เรื่องปลา
  ปลากดเหลือง
ปลาไน (VDO)
ปลาบึก (VDO)
   
  บทความน่าสนใจ
 

การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง
การเลี้ยงลาดุก
เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา
การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
การเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน
การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ชีววิทยาและการผสมพันธุ์ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย
ความหลากหลายของปลาน้ำจืด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)

  เอกสารการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
  บทความพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ
   
 
     
 
หน้าแรก | จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืืด | บทความน่าสนใจ | การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย | การเพาะพันธุ์ปลาสวาย | การเพาะพันธุ์ปลานิล | การเพาะพันธุ์ปลาแรด | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง | การเพาะพันธุ์ปลาทับทิม | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียน | การเพาะพันธุ์ปลายี่สก | การเพาะพันธุ์ปลาจีน | การเพาะพันธุ์ปลาไน | การเพาะพันธุ์ปลากระพง | การเพาะพันธุ์ปลาบึก | การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ | การเพาะพันธุ์ปลากราย | การเพาะพันธุ์ปลากระโห้ | คำถามที่พบบ่อย | จำหน่ายลูกปลา | ประทีปพันธุ์ปลา | ติดต่อฟาร์มพันธุ์ปลา

© Copyright ประทีปพันธุ์ปลา (Bestfish4u.com) จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด  All rights reserved.