จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาสลิด ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด และอื่นๆ บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
ที่ตั้งฟาร์มปลา 120/2 หมู่ 3 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
089-856-3941 (เจ๊ประนอม)
062-446-5364 (มดดำ)


บริการส่ง Order ขั้นต่ำ 15,000 บาท

ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีด้วยประสบการณ์ด้านการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 30 ปี ฟาร์มของเรามีความใส่ใจและเชี่ยวชาญในการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง สายพันธุ์ดี ปลอดโรค เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลา อีกทั้งเรายังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ได้ขนาดมาตราฐานและมีความแข็งแรงอัตราการรอดสูง เพื่อส่งถึงมือเกษรกรไทยผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วภูมิภาค พันธุ์ปลาคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม แก้วงาม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืด
การเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสวาย การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลานิล
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาแรด การเพาะเลี้ยงลูกปลาทับทิม การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาสลิด
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากดเหลือง การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาบึก การเพาะเลี้ยงปลาเทโพ
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากราย การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากระโห้ การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาตะเพียน
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลายี่สก การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาจีน การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาไน
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากระพง การเพาะพันธุ์ปลาจาระเม็ดน้ำจืด  
 
การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาบึก

พันธุ์ปลาบึก

แหล่งเพาะพันธุ์ปลาบึก

พันธุ์ปลาบึก เป็นพันธุ์ปลาที่อยู่ 1 ใน 9 ชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียนขาว ปลาตะเพียนทอง ปลากระแห ปลาสร้อยขาว ปลาแก้มช้ำ ปลาม้า ปลายี่สกไทย และกุ้งก้ามกราม ที่กรมประมงร่วมกับโรงพยาบาลศิริราชจัดโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พันธุ์ปลาทั้ง 9 ชนิดนี้เป็นชนิดปลาน้ำจืดที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นพันธุ์ปลาท้องถิ่นประจำแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย

ปลาบึก

ปลาบึกเป็นปลาไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3 เมตร มีน้ำหนักมากกว่า 250 กิโลกรัม พบเฉพาะในแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาขาเท่านั้น ปลาบึกถูกจัดเป็นปลาชนิดที่มีจำนวนน้อยใกล้สูญพันธุ์ [Endangered species] ชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ Mekong giant catfish มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon gigas เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีฟันทั้งที่ขากรรไกรและเพดานปาก สำหรับแหล่งจับปลาบึกที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย อยู่ที่บ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ ฤดูจับปลาบึกของชาวประมง จะเริ่มต้นประมาณปลายเดือนเมษายนของทุกปี จนถึงต้นเดือนมิถุนายน โดยใช้เครื่องมือมองไหล ด้วยเป้าหมายที่ต้องการจะอนุรักษ์พันธุ์ปลาบึก และเพื่อเพิ่มปริมาณปลาบึกในแหล่งน้ำธรรมชาติ กรมประมงจึงได้พยายามดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ จนประสบผลสำเร็จครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าวทำให้การศึกษาทางอนุกรมวิธานของปลาบึกสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และทำให้ทราบว่าลูกปลาบึกมีลักษณะหลาย ๆ ประการที่แตกต่างไปจากปลาที่โตเต็มวัย เช่นมีฟันบนขากรรไกร และเพดานปาก และจะหลุดร่วงไปหมดเมื่อโตเต็มวัย ได้มีการนำพันธุ์ปลาบึกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจและติดตาม ทำให้ทราบว่าปลาบึกสามารถเจริญเติบโตในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ปีละประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม

 

ลักษณะทั่วไปของปลาบึก

จำหน่ายพันธุ์ปลาบึก

ปลาบึกเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างเพรียวขาวแบนข้างเล็กน้อย ลูกปลาบึกขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเหลือง ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำตามยาว 1 – 2 แถบ ครีบหางตอนบนและล่างมีแถบสีคล้ำตามยาว ในปลาขนาดใหญ่ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเทาอมน้ำตาลแดง ด้านข้างเป็นสีเทาปนน้ำเงินและจางกว่าด้านหลัง เมื่อค่อนลงมาทางท้องสีจะจางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีขาวเงิน ตามลำตัวมีจุดสีดำค่อนข้างกลมกระจ่ายอยู่ห่าง ๆ กันเกือบทั่วตัว
บริเวณจงอยปากมีรูจมูก 2 คู่ ตั้งอยู่บนริมผีปากทางด้านข้างจงอยปาก คู่หน้าอยู่ชิดกันมากกว่าคู่หลัง นัยตาของปลาบึกมีขนาดเล็กอยู่เป็นอิสระไม่ติดกับขอบตามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ใน 20 เท่า ของความยาวหัว ตำแหน่งของนัยตาอยู่ต่ำกว่าระดับมุมปาก ลูกตามีหนังบาง ๆ คลุมด้านขอบเล็กน้อยเปิดเป็นช่องรูปกลมที่กึ่งกลางกะโหลกมีจุดสีขาวขนาดเดียวกับตา 1 จุด

พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึก

ครีบหลังของปลาบึก มีสีเทาปนดำ จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง แต่ไม่ถึงกึ่งกลางของลำตัว ก้านครีบแข็งเป็นเงี่ยงแต่สั้นและทู่ลงเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น
ครีบอก มีสีเทาปนดำอยู่ค่อนข้างต่ำ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งใหญ่ 1 อัน ซึ่งปลายโค้งงอได้ไม่แข็งเป็นเงี่ยง หรือหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านครีบอ่อนมีจำนวน 10 อัน ความยาวครีบอกมีขนาดเท่าหรือเกือบเท่ากับความยาวครีบหลัง คือมีความยาวครึ่งหนึ่งของหัว
ครีบท้อง มีสีเทาอ่อน มีก้านครีบโค้งงอได้ 1 อัน มีก้านครีบอ่อนจำนวน 7 อัน
ครีบก้น มีสีเทาอ่อน มีก้านครีบแข็งที่โค้งงอได้ 5 อัน ก้านครีบอ่อน 29 – 32 อัน
ครีบไขมัน มีสีเทาปนดำ มีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางครีบหาง
ครีบหาง มีสีเทาปนดำ ขนาดอ่อนข้างสั้นเว้าลึก ส่วนของแพนหางบนและล่างมีขนาดเท่ากัน

ถิ่นที่อยู่อาศัย

ปลาบึกชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีระดับน้ำลึกกว่าสิบเมตร พื้นท้องน้ำเต็มไปด้วยก้อนหินและโขดหินสลับซับซ้อนกัน ยิ่งมีถ้ำใต้น้ำด้วยแล้วปลาบึกจะชอบมากที่สุด ปลาบึกขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในระดับน้ำที่ลึกอาศัยถ้ำใต้น้ำเป็นที่หลบซ่อนตัว นอกจากนี้ยังได้ตะไคร่น้ำที่ขึ้นตามโขดหินกินเป็นอาหาร
ปลาบึกมีเฉพาะในแม่น้ำโขงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แม้ว่าบางครั้งอาจจับปลาบึกได้จากแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่เป็นสาขาของแม่น้ำโขง เช่น แม่น้ำสงคราม จังหวัดนครพนม แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำงึมแขวงนครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปลาที่จับได้เชื่อแน่ว่าเป็นปลาที่เข้าไปหากินในลำน้ำเป็นการชั่วคราว ปลาบึกอาศัยในแม่น้ำโขงนับตั้งแต่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนลงมาจนถึงเมียนม่าร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย สารธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนกัมพูชา และสาธารณรัฐเวียดนามตอนใต้ แต่ไม่เอยปรากฏว่าพบในบริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำโขงที่ไหลออกสู่ทะเลจีนใต้
ประเทศไทยพบว่าปลาบึกอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตอนที่กั้นพรมแดนไทยโดยตลอด คือนับตั้งแต่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ลงไปจนถึงอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งที่พบปลาบึกอาศัยอยู่ชุกชุมมากที่สุดอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดหนองคาย โดยเฉพาะวังปลาบึกหรืออ่างปลาบึกบ้านผาตั้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของปลาบึกมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ในสมัยเมื่อ 40 ปีก่อน เฉพาะวังปลาบึกเคยจับปลาบึกได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40 – 50 ตัว ส่วนปลาบึกที่จับได้ที่จังหวัดเชียงราย ชาวประมงเชื่อว่าเป็นปลาที่อพยพย้ายถิ่นมาจากวังปลาบึกที่หลวงพระบาง

การเพาะพันธุ์ปลาบึก

การเพาะพันธุ์ปลาบึก

ขั้นตอนการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาบึกจากพ่อแม่พันธุ์ที่จับได้จากแม่น้ำโขง
1. การดูแลพ่อแม่ปลาบึกหลังจากที่จับได้ ใช้เชือกในลอนร้อยเข้าทางปากออกทางเหงือกผูกติดกับลำไม้ไผ่เพื่อพยุงตัวปลาป้องกันตัวปลาไม่ให้จมลงและป้องกันไม่ให้ปลาดิ้นมาก สามารถจะรักษาให้พ่อ – แม่ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน 5 – 7 วัน
2. การฉีดฮอร์โมนเพื่อการผสมเทียม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาบึกในระยะแรก ๆ ใช้ต่อมใต้สมองของปลาไนและปลาสวาย ซึ่งใช้ต่อมจำนวนมากต่อมาปี 2535 จึงได้เปลี่ยนเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ LHPHa ชนิดต่าง ๆ ผสมกับ Domperidone

ลักษณะไข่ปลาบึกเป็นไข่ติด ซึ่งผสมพันธุ์ครั้งนี้ได้ทำ 2 วิธี
วิธีที่ 1 หลังจากที่ไข่ได้รับการผสมน้ำเชื้อแล้ว ใช้เชือกฟางผูกเป็นพวกฉีกเป็นฝอยแล้วจุ่มในไข่เพื่อให้ไข่ติดแล้วนำไปพัก
วิธีที่ 2 หลังจากที่ไข่ได้รับการผสมพันธุ์จากน้ำเชื้อแล้ว ใช้น้ำขุ่นตะกอนริมแม่น้ำโขงล้างไข่ที่ได้รับการผสมแล้วเพื่อไม่ให้ไข่ติดกัน

3. การลำเลียงไข่ปลาบึก ลำเลียงโดยทางรถยนต์ โดยจะบรรจุไข่ในถุงพลาสติกภายในถุงบรรจุน้ำประมาณ 5 ลิตร วางถุงพลาสติกบรรจุไข่บนรถกะบะพื้นรถปูด้วยผืนอวนเก่าหรือผักตบชวาและสาดน้ำจนชุ่ม
4. การเพาะฟักไข่ปลาบึก
การเพาะฟักไข่ปลาบึกแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
- การฟักไข่ในกระชังผ้า ไข่ปลาบึกที่ผสมแล้วจะถูกโรยบนเชือกฟางที่คัดเป็นฟอง ซึ่งลอยในกระชังผ้าขนาด 1x2x0.75 เมตร ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ไข่ฟักเป็นตัวในระหว่าง 28 – 36 ชั่วโมง
. - การเพาะฟักไข่ในกระเช้าผ้าตาถี่ ไข่ปลาบึกจะถูกน้ำมาใส่ในกระเช้าผ้าตาถี่ซึ่งแขวนให้จมน้ำลึกประมาณ 40 ซม. ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 2x3 เมตร ซึ่งมีระดับน้ำลึกประมาณ 70 ซม. ตอนปลายของกระเช้ามีสายยาวต่อกับก๊อกน้ำเมื่อปล่อยน้ำออกจากก๊อกจะทำให้มีการไหลของน้ำภายในกระเช้าผ้า ทำให้ไข่ลอยหมุนอยู่ภายใน ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 23-33 ชั่วโมง หลังจากไข่ผสมน้ำเชื้อ
- การเพาะฟักไข่ในบ่อซีเมนต์ นำไข่ที่ผสมน้ำเชื้อแล้วเทใส่บ่อซีเมนต์ขนาด 5 x 10 เมตร มีระดับน้ำลึกประมาณ 40 ซม. เหนือบ่อมีหลังคาคลุมอยู่ประมาณครึ่งบ่อ ภายในบ่อต่อท่อแป๊บน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว ปลายอุดและเจาะรูแป๊บน้ำถึงก้นเป็นระยะห่างกันประมาณ 20 ซม. ความยาวของท่อประมาณ 6 เมตร วางท่อตรงกลางบ่อ ปลายท่อต่อสายยางกับปั้มลม แล้วปล่อยลมไหลผ่านท่อยางเข้าสู่แป๊บน้ำตลอดเวลา ไข่ฟักเป็นตัวในระยะเวลา 26 – 33 ชั่วโมง


การอนุบาลลูกพันธุ์ปลาบึก
การอนุบาลลูกพันธุ์ปลาบึกวัยอ่อน (Fry Nursing)

การอนุบาลแบ่งออก 2 ระยะคือ ระยะแรกอนุบาลตั้งแต่ลูกปลาฟักออกเป็นตัว ถึงอายุประมาณ 5-6 วัน ระยะที่สองตังแต่ลูกปลาอายุ 5-6 วัน จนถึงอายุ 17–18 วัน ระยะแรก อนุบาลลูกปลาบึกหลังฟักเป็นตัวจนถึงอายุ 5-6 วัน ในบ่อซีเมนต์ขนาด 6 ตารางเมตร ใช้อัตราปล่อย 4,167 ตัวต่อลูกบาศเมตร ให้ไรแดงมีชีวิตเป็นอาหารในอัตราไรแดง 60 กรัมต่อลูกปลา 5,000 ตัวต่อครั้งและแบ่งเวลาในการให้อาหารเป็น 2 ช่วง คือ ระยะ 3 วัน แรกให้อาหาร 8 ครั้ง หลังจากนั้นให้อาหาร 6 ครั้ง ระยะเวลาในการอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์ มีผลต่ออันตราการรอดตายของลูกปลา กล่าวคือระยะเวลาที่เหมาสมที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาบึกวัยอ่อนในบ่อซีเมนต์ควรอยู่ระหว่าง 5-6 วัน พอเริ่มเข้าวันที่ 7 ของอนุบาลลูกปลาเริ่มทยอยตายและหากอนุบาลนานเกินไป จะส่งผลให้อันตราการรอดต่ำ ดังนั้นควรย้ายลูกปลาไปอนุบาลต่อในบ่อดิน

ระยะที่สอง อนุบาลลูกปลาบึก อายุ 5 –6 วัน ถึงอายุ 17-18 วัน ในบ่อดิน บ่อดินที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาบึกคือ 800 ตารางเมตร โดยปล่อยลูกปลา 18 ตัวต่อตารางเมตร ระดับน้ำลึก 60 – 70 เซนติเมตร การให้อาหารวันแรกให้ไรแดงมีชีวิต 2 กิโลกรัมต่อบ่อ วันต่อมาให้ปลาเป็ดบดละเอียดสาดทั้งบ่อ ครั้งละครึ่งกิโลกรัม ทุก ๆ 6 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้ไรแดงเสริมอีกบ่อละ 1 กิโลกรัม หลังจาก 3 วันแล้วเปลี่ยนจากปลาเป็ดเป็นอาหารผสมมีระดับโปรตีน 27 เปอร์เซ็นต์ วันละครั้ง ๆ ละครึ่งกิโลกรัมเสริมด้วยไรแดงครั้งละ 1 กิโลกรัมทุก 3 วัน

อายุของลูกปลาที่จะนำไปอนุบาลในบ่อดินเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างมาก จากการทดลองนำลูกปลาวัยอ่อนที่ถุงไข่แดงยังยุบไม่หมดไปอนุบาลในบ่อดิน จะมีอัตราการรอกตายต่ำมากหรือตายทั้งหมดหากใช้ลูกปลาอายุ 5 – 6 วัน ซึ่งแข็งแรงพอที่จะปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่ได้แล้วไปอนุบาลต่อในบ่อดินขนาดเล็ก จะมีอัตราการรอดตายที่ค่อนข้างสูง

พันธุ์ปลาบึกที่พร้อมปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดต่างๆ

พันธุ์ปลาบึก

พันธุ์ปลาบึก ขนาดประมาณ 3 นิ้ว หรือประมาณ 7.6 เซนติเมตร

พันธุ์ปลาบึก

พันธุ์ปลาบึกขนาดประมาณ 5-6 นิ้ว, 7-8 นิ้ว

ลูกปลาบึก พันธุ์ปลาบึก

จำหน่ายพันธุ์ปลาบึกแท้


ที่มาข้อมูล งานเอกสารคำแนะนำ กองส่งเสริมการประมง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพโดย bestfish4u.com

 

 

 
 

ปริมาณจัดส่งพันธุ์ปลาถึงบ่อ
ลูกค้าขั้นต่ำ 15,000 บาท
ต่ำกว่ารบกวนมารับที่ฟาร์ม
เรายินดีต้อนรับค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 
 
   
  เทคนิคการเลี้ยงปลาน้ำจืด
  การเลี้ยงปลานิลหมัน
   
  ข้อมูลปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
 
ปลากราย
ปลาชะโด
ปลาดุกอุย
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาบู่ทราย
ปลาลิ้นหมา
ปลาสลาด
ปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูขาว
ปลาไหล
ปลาตะเพียนทราย
ปลาสวาย
ปลาสร้อยขาว
ปลานวลจันทร์

ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน
ปลาเทโพ
ปลาบึก
ปลายี่สก
ปลาสร้อยเกล็ดถี่

ปลาสลิด
ปลาหมอ
ปลาหลด
ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนทอง
ปลาหมอเทศ
ปลาสังกะวาด
  พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย
 
กดหิน แขยงหิน
กระดี่นาง
กะสูบขีด
กา เพี้ย
เข็ม
แขยงธง
เค้าขาว
ช่อนงูเห่า
ตองลาย
ตะพาก ปีก
บึก ไตรราช
ม้า กวาง
เวียน
ปลานิล
กระดี่หม้อ
กะทุงเหว
กะแหทอง
แก้มช้ำ
ลูกผึ้ง อีดูด
เสือพ่นน้ำ
หางไหม้
กดเหลือง
กะทิงดำ หลาด
กะสูบจุด
ก้างพระร่วง
แขยงข้างลาย
คางเบือน
จีด
ดุกลำพัน
ตะโกก โจก
ตูหนา ไหลหูดำ
พรมหัวเหม็น
แรด เม่น มิ่น
หัวตะกั่ว หัวเงิน
ปลาทับทิม
กะทิงไฟ
กระมัง
กระโห้
พลวงหิน
เสือตอ
หมอตาล
   
  สายพันธุ์ปลาสวยงาม
 
ซัคเกอร์
กระดี่หม้อ
ปลาหมอสี
ปลาหางนกยูง
ปลาทอง
ปลาคาร์พ
ปลาเทวดา
ปลาตะพัด

กระดี่แคระ
ปลากัดไทย
สอดแดง
ปลาปอมปาดัวร์
ปลากาแดง
ปลาเซลฟิน
ปลาม้าลาย
  แหล่งรวมความรู้เรื่องปลา
  ปลากดเหลือง
ปลาไน (VDO)
ปลาบึก (VDO)
   
  บทความน่าสนใจ
 

การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง
การเลี้ยงลาดุก
เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา
การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
การเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน
การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ชีววิทยาและการผสมพันธุ์ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย
ความหลากหลายของปลาน้ำจืด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)

  เอกสารการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
  บทความพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ
   
 
     
 
หน้าแรก | จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืืด | บทความน่าสนใจ | การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย | การเพาะพันธุ์ปลาสวาย | การเพาะพันธุ์ปลานิล | การเพาะพันธุ์ปลาแรด | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง | การเพาะพันธุ์ปลาทับทิม | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียน | การเพาะพันธุ์ปลายี่สก | การเพาะพันธุ์ปลาจีน | การเพาะพันธุ์ปลาไน | การเพาะพันธุ์ปลากระพง | การเพาะพันธุ์ปลาบึก | การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ | การเพาะพันธุ์ปลากราย | การเพาะพันธุ์ปลากระโห้ | คำถามที่พบบ่อย | จำหน่ายลูกปลา | ประทีปพันธุ์ปลา | ติดต่อฟาร์มพันธุ์ปลา

© Copyright ประทีปพันธุ์ปลา (Bestfish4u.com) จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด  All rights reserved.