จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด เช่น ปลาดุกบิ๊กอุย ปลาดุกรัสเซีย ปลาสวาย ปลาสลิด ปลาแรด ปลาทับทิม ปลานิล ปลาจาระเม็ด และอื่นๆ บริการส่งทั่วไทย

บริหารงานโดย ประทีปพันธุ์ปลา
ที่ตั้งฟาร์มปลา 120/2 หมู่ 3 ต.เกรียงไกร อ.เมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
089-856-3941 (เจ๊ประนอม)
062-446-5364 (มดดำ)


บริการส่ง Order ขั้นต่ำ 15,000 บาท

ประทีปพันธุ์ปลา จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด คุณภาพการันตีด้วยประสบการณ์ด้านการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดมากกว่า 30 ปี ฟาร์มของเรามีความใส่ใจและเชี่ยวชาญในการคัดเลือกพ่อและแม่พันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรง สายพันธุ์ดี ปลอดโรค เพื่อนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลา อีกทั้งเรายังมีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับอนุบาลลูกพันธุ์ปลาน้ำจืด ให้ได้ขนาดมาตราฐานและมีความแข็งแรงอัตราการรอดสูง เพื่อส่งถึงมือเกษรกรไทยผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วภูมิภาค พันธุ์ปลาคุณภาพมาตรฐาน ราคายุติธรรม บริการส่งถึงที่ ทำให้ประทีปพันธุ์ปลาได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั่วภูมิภาค ดำเนินงานโดย เจ๊ประนอม แก้วงาม และน้องมดดำ รับปรึกษาปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา อาทิเช่น การเพาะพันธุ์ปลา การเลี้ยงลูกปลาและลูกพันธุ์ปลา การจัดจำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืด และทุกเรื่องเกี่ยวกับลูกปลาน้ำจืด
บทความที่น่าสนใจ
การเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงลูกปลาแบบพัฒนา
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง การเลี้ยงปลาในนาข้าว ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย ความหลากหลายของปลาน้ำจืด ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)
ปลาชะโด
ปลาบึก
ปลาเสือตอ ปลานิล ปลานวลจันทร์
ปลาสวาย ปลาดุก
ปลาสลิด
ปลายี่สก
ปลากราย
ปลาเทโพ
ปลาไน ปลากระโห้ ปลากดคัง
ปลาทับทิม
ปลากะพงน้ำจืด  

การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด เพื่อเป็นอาหารให้กับปลา

ไรแดง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกกุ้งหรือที่เรียกว่า Crustacean มีชื่อวิทยาศาสตร์ Moina macrocopa และมีชื่อสามัญว่า Water flea เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดหนึ่ง มีขนาด 0.4-1.8 มม. ลำตัวมีสีแดงเรื่อๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นไรแดงมีสีแดงเข้ม เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดเฉลี่ย 1.3 มม. ส่วนเพศผู้ตัวเล็ก และค่อนข้างยาว มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มม. ตัวอ่อนที่ออกมาจากถุงไข่ใหม่ๆ จะมีขนาด 0.22-0.35 มม. มีสีจางกว่าตัวเต็มวัยในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ไรแดงจะมีประชากรเพศผู้ 5 % เพศเมีย 95 %

ไรแดงมีการสืบพันธุ์ 2 แบบคือ

- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

วิธีการเพาะเลี้ยงไรแดง แบ่งได้ 2 วิธีคือ

- การเพาะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
- การเพาะเลี้ยงในบ่อดิน

ในปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงไรแดงในบ่อซีเมนต์ทำได้ 2 วิธีคือ
1. การเพาะเลี้ยงแบบเก็บเกี่ยวไม่ต่อเนื่อง คือการเพาะไรแดงแบบการเก็บเกี่ยวเพียงครั้งเดียว การเพาะแบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีบ่ออย่างน้อย 5 บ่อ เพื่อใช้ในการหมุนเวียนให้ได้ผลผลิตทุกวัน
2. การเพาะเลี้ยงแบบเก็บเกี่ยวต่อเนื่อง คือการเพาะไรแดงแบบเก็บเกี่ยวผลผลิตไรแดงหลายวันภายในบ่อเดียวกัน การเพาะแบบนี้ต้องมีบ่ออย่างน้อย 5 บ่อ การเพาะแบบต่อเนื่องจะต้องคำนึงถึงศัตรูของไรแดงและสภาวะแวดล้อมในบ่อเพาะไรแดง เนื่องจากการเติมพวกอินทรีย์สารต่างๆ หรือการเติมน้ำเขียวลงในบ่อควรมีการถ่ายน้ำและเพิ่มน้ำสะอาดลงในบ่อ เพื่อเป็นการลดความเป็นพิษของแอมโมเนีย และสารพิษอื่นๆ ที่เกิดในบ่อ การเพาะไรแดงทั้ง 2 วิธี ควรจะมีเครื่องเป่าอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้เพียงพอ

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไรแดง

ไรแดง เป็นสัตว์น้ำจึงต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เช่นเดียวกับสัตว์น้ำอื่นๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน ดังนั้น การเพาะเลี้ยงไรแดงจึงต้องให้อาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่เพียงพอ และควบคุมสภาวะแวดล้อมในบ่อเพาะเลี้ยงให้เหมาะสมหากอาหารในบ่อมากหรือน้อยเกินไปก็จะทำให้ได้ผลผลิตไรแดงลดต่ำลง

วิธีการเพาะเลี้ยงไรแดงมี 5 ขั้นตอน
ซึ่งแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติจะมีผลต่อปริมาณและระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ยาวนานขึ้น ดังต่อไปนี้
1. การเตรียมบ่อผลิต
2. การเตรียมน้ำ
3. การเตรียมอาหาร
4. การเตรียมพันธุ์ไรแดง
5. การควบคุมบ่อผลิต

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมบ่อผลิต
กรณีบ่อใหม่จะต้องล้างบ่อให้อยู่ในสภาพเป็นกลางหรือด่างอ่อนๆ (7-8) โดยแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-3 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำทิ้ง ถ้าต้องการลดระยะเวลาให้หมักฟางหญ้าหรือเศษพืชผักไว้ในบ่อ เพราะจะเกิดกรดอินทรีย์ เช่น กรดฮิวมิค ซึ่งจะช่วยแก้ความเป็นด่างได้เล็กน้อย หรือใช้กรดน้ำส้มเทียมผสมน้ำในบ่อให้เต็ม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน แล้วระบายน้ำทิ้งและเปิดแช่ทิ้งอีก 24 ชั่วโมง ส่วนบ่อเก่าต้องล้างบ่อแล้วตากบ่อให้แห้งเพื่อกำจัดศัตรูไรแดง

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมน้ำ

การระบายน้ำเข้าบ่อโดยการกรองด้วยผ้าแพลงก์ตอนจะช่วยป้องกันศัตรูไรแดง และคัดขนาดของแพลงก์ตอนพืชที่ติดมากับน้ำและเป็นอาหารไรแดงต่อไป ระดับน้ำที่ใช้ประมาณ 20-30 เซนติเมตร น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง จะให้ผลผลิตสูงกว่าน้ำประปา น้ำบาดาลและน้ำฝน แต่ก็ควรกรองด้วยถุงกรองแพลงก์ตอนทุกครั้ง เพื่อป้องกันศัตรูของไรแดงที่อาจติดมากับแหล่งน้ำธรรมชาติ

ขั้นตอนที่ 3 การเตรียมอาหาร

อาหารที่ใช้ผลิตไรแดงจะต้องมีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ชนิดของอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยงไรแดง แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. อาหารผสม ได้แก่ รำละเอียด ปลาป่น และกากถั่วเหลืองโดยเฉพาะกากถั่วเหลือง โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองจะมีกรดไขมันที่เร่งการลอกคราบของไรแดงสูงขึ้น
2. จุลินทรีย์ เป็นอาหารที่ได้จากการหมักอาหารกับน้ำได้แก่ ยีสต์ และแบคทีเรีย
3. น้ำเขียว เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งในที่นี้หมายถึงแพลงก์ตอนพืช หลายๆชนิดที่ไรแดงกินได้เช่น คลอเรลล่า ซีเนเดสมัส ซึ่งทำให้ไรแดงสมบูรณ์ จึงมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การเตรียมพันธุ์ไรแดง

การเพาะเลี้ยงไรแดงให้ได้ปริมาณมากจำเป็นต้องใช้แม่พันธุ์ที่มีชีวิต สมบูรณ์ แข็งแรง มีวิธีการดำเนินการง่ายๆ ดังนี้
1. การคัดพันธุ์ไรแดง ควรแยกไรแดงออกจากแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดอื่น โดยใช้กระชอนอวนมุ้งสีฟ้าขนาดตาเล็กสุด ซึ่งสามารถแยกไรแดงจากโคพีพอด และลูกน้ำได้ แต่ถ้าได้พันธุ์ไรแดงที่ไม่มีแพลงก์ตอนสัตว์ชนิดอื่นปะปนมาจะดีที่สุด
2. การสังเกตุเพศไรแดง ไรแดงมี 2 เพศคือ ไรแดงเพศเมียและเพศผู้ในสภาวะที่เหมาะสมไรแดงจะสร้างเพศผู้เพียง 5% ของประชากรไรแดง แต่ในสภาวะไม่เหมาะสมไรแดงจะสร้างเพศผุ้มากขึ้น สำหรับการเลือกแม่พันธุ์หรือหัวเชื้อ โดยสังเกตุไรแดงที่มีรูปร่างอ้วนกลม ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ คือใช้แก้วใส่น้ำใสๆ แล้วช้อนไรแดงพอประมาณ ยกขึ้นส่องดูถ้าพบไรแดงเพศผู้ซึ่งมีลำตัวผอมยาวรี แสดงว่ามีไรแดงเพศผุ้มากกว่า 5% ซึ่งไม่ควรนำไปขยายพันธุ์
3. การเติมแม่พันธุ์ไรแดง ไรแดง 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 20% จะได้ไรแดง 1 ลิตร ปริมาณที่ใช้เฉลี่ย 30-40 กรัม/ตารางเมตร บ่อขนาด 50 ตารางเมตร ใช้แม่พันธุ์ไรแดง 2 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตประมาณครั้งละ 12 กิโลกรัม ซึ่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณวันละ 5 กิโลกรัม

ขั้นตอนที่ 5 การควบคุมบ่อผลิต

การคงสภาพบ่อผลิตให้สามารถเก็บผลผลิตได้มากกว่า 7 วัน มีวิธีการดังนี้
1. การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เก็บเกี่ยวเพียงวันละครึ่งหนึ่งของผลผลิตทั้งหมดคือ ครั้งแรกวันที่ 3 หรือ 5 หลังจากเติมแม่พันธุ์ไรแดง
2. การเติมอาหารให้เติมอาหารหมักแล้ว 10-25% ของครั้งแรกทุกวันโดยสังเกตปริมาณผลผลิตไรแดงในบ่อ
3. การถ่ายน้ำ หมายถึง การระบายน้ำออกและเติมน้ำเข้าทุก 2-3 วัน ระดับน้ำ 5-15 ซม. โดยสังเกตปริมาณผลผลิตไรแดงในบ่อ

คุณค่าทางโภชนาการของไรแดง

ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดังนั้น การอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยไรแดงจึงทำให้อัตรารอดและอัตราการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อนสูงมาก ไรแดงน้ำหนักแห้งประกอบด้วยโปรตีน 74.09% คาร์โบไฮเดรต 12.50% ไขมัน 10.19% แล้วเถ้า 3.47% (สันทนา, 2529)
ไรแดงเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีที่สุดสำหรับการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ทั้งปลาสวยงามและปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาปอมปาดัวร์ ปลากัด กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลาบึก ปลาเทพา และปลาดุกอุย เป็นต้น

การนำไรแดงมาใช้

การนำไรแดงมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไรแดงที่ได้จากบ่อผลิตจะมีเชื้อโรคที่ทำอันตรายกับสัตว์น้ำน้อยกว่าไรแดงที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่เพื่อความมั่นใจ จึงควรล้างด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะได้สารละลายสีชมพูอ่อนสารละลายนี้จะเพิ่มออกซิเจนให้กับไรแดงและน้ำด้วยเพราะด่างทับทิมเมื่อละลายน้ำจะให้ออกซิเจนในน้ำ
สำหรับปริมาณไรแดงที่ใช้ในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนให้ใช้ในปริมาณ 500-800 กรัม/ลูกปลาจำนวน 100,000 ตัว/วัน โดยแบ่งอาหารให้ 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 ชม. ระวังอย่าให้มีลูกไรแดงเหลือลอยอยู่ตลอดเวลา เพราะลูกไรแดงส่วนมากจะตายหมักหมมอยู่บริเวณพื้นบ่อ การอนุบาลลูกปลาดุกอุยตั้งแต่ไข่แดงยุบในระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาดุกอุยขนาดเฉลี่ย 2 ซม. ในการอนุบาลปลาดุกอุยหรือปลาดุกเทศอาจให้อาหารสำเร็จรูปช่วยได้โดยเริ่มฝึกให้ลูกปลากินอาหารสำเร็จรูป เมื่อลูกปลามีอายุได้ 8-10 วัน โดยให้พร้อมกับไรแดงแล้วค่อยๆลดปริมาณไรแดงและเพิ่มปริมาณอาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลาสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้ทั้งหมด

การเก็บรักษาไรแดง

1. ใช้วิธีการเก็บโดยการแช่แข็ง วิธีนี้สามารถเก็บไว้ได้นานและยังสดอยู่เสมอ ส่วนมากเป็น ไรแดงที่ตาย ไรแดงที่เก็บโดยวิธีนี้ไม่สามารถนำไปใช้พันธุ์ในการผลิตต่อไป
2. วิธีการเก็บในอุณหภูมิต่ำประมาณ 10oC โดยเติมน้ำลงไป 50% จะอยู่ได้นาน 4 วันในภาชนะเปิดประมาณวันที่ 3 จะสังเกตุเห็นไข่สีขาวขุ่นหรือสีชมพู ซึ่งเป็นไข่ไรแดงชนิดที่จะต้องผสมพันธุ์กับเพศผู้ ซึ่งจะสร้างขึ้นเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม อุณหภูมิต่ำกว่า 15 oC ความเป็นกรดเป็นด่างต่ำกว่า 6 หรือสูงกว่าเป็นต้น

เอกสารอ้างอิง
ภาณุ เทวรัตน์มณีกุล และคณะ. 2532. การเพาะเลี้ยงไรแดง เอกสารเผยแพร่ฉบับที่ 9 สถานีประมง
น้ำจืด จังหวัดปทุมธานี กองประมงน้ำจืด กรมประมง. 14 หน้า.
วีระ วัชรกรโยธิน และคณะ. 2528. การเพาะไรแดง รายงานประจำปี 2528 สถานีพัฒนาการเพาะ
เลี้ยงปลา จังหวัดปทุมธานี หน้า 51-69.









 

 

 
 

ปริมาณจัดส่งพันธุ์ปลาถึงบ่อ
ลูกค้าขั้นต่ำ 15,000 บาท
ต่ำกว่ารบกวนมารับที่ฟาร์ม
เรายินดีต้อนรับค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติม

 
 
 
 
   
  เทคนิคการเลี้ยงปลาน้ำจืด
  การเลี้ยงปลานิลหมัน
   
  ข้อมูลปลาน้ำจืดเศรษฐกิจ
 
ปลากราย
ปลาชะโด
ปลาดุกอุย
ปลาเนื้ออ่อน
ปลาบู่ทราย
ปลาลิ้นหมา
ปลาสลาด
ปลาหมอช้างเหยียบ
ปลาหมูขาว
ปลาไหล
ปลาตะเพียนทราย
ปลาสวาย
ปลาสร้อยขาว
ปลานวลจันทร์

ปลาช่อน
ปลาดุกด้าน
ปลาเทโพ
ปลาบึก
ปลายี่สก
ปลาสร้อยเกล็ดถี่

ปลาสลิด
ปลาหมอ
ปลาหลด
ปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนทอง
ปลาหมอเทศ
ปลาสังกะวาด
  พันธุ์ปลาน้ำจืดของไทย
 
กดหิน แขยงหิน
กระดี่นาง
กะสูบขีด
กา เพี้ย
เข็ม
แขยงธง
เค้าขาว
ช่อนงูเห่า
ตองลาย
ตะพาก ปีก
บึก ไตรราช
ม้า กวาง
เวียน
ปลานิล
กระดี่หม้อ
กะทุงเหว
กะแหทอง
แก้มช้ำ
ลูกผึ้ง อีดูด
เสือพ่นน้ำ
หางไหม้
กดเหลือง
กะทิงดำ หลาด
กะสูบจุด
ก้างพระร่วง
แขยงข้างลาย
คางเบือน
จีด
ดุกลำพัน
ตะโกก โจก
ตูหนา ไหลหูดำ
พรมหัวเหม็น
แรด เม่น มิ่น
หัวตะกั่ว หัวเงิน
ปลาทับทิม
กะทิงไฟ
กระมัง
กระโห้
พลวงหิน
เสือตอ
หมอตาล
   
  สายพันธุ์ปลาสวยงาม
 
ซัคเกอร์
กระดี่หม้อ
ปลาหมอสี
ปลาหางนกยูง
ปลาทอง
ปลาคาร์พ
ปลาเทวดา
ปลาตะพัด

กระดี่แคระ
ปลากัดไทย
สอดแดง
ปลาปอมปาดัวร์
ปลากาแดง
ปลาเซลฟิน
ปลาม้าลาย
  แหล่งรวมความรู้เรื่องปลา
  ปลากดเหลือง
ปลาไน (VDO)
ปลาบึก (VDO)
   
  บทความน่าสนใจ
 

การสังเกตุพฤติกรรมของปลาที่เลี้ยง
การเลี้ยงลาดุก
เทคนิคการลำเลียงขนย้ายลูกปลา
การเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดแบบพัฒนา
การเลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยแบบผสมผสาน
การเพาะเลี้ยงไรน้ำจืด
อาหารปลาเพื่อการพึ่งพาตนเอง
การเลี้ยงปลาในนาข้าว
ชีววิทยาและการผสมพันธุ์ปลาเสือตอ
รวมชื่อวิทยาศาตร์ปลาน้ำจืดของไทย
ความหลากหลายของปลาน้ำจืด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประมงน้ำจืด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก (เกษตรพอเพียง)

  เอกสารการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก โดยกรมส่งเสริมการเกษตร
  บทความพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ
   
 
     
 
หน้าแรก | จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืืด | บทความน่าสนใจ | การเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุย | การเพาะพันธุ์ปลาสวาย | การเพาะพันธุ์ปลานิล | การเพาะพันธุ์ปลาแรด | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลากดเหลือง | การเพาะพันธุ์ปลาทับทิม | การเพาะพันธุ์ปลาสลิด | การเพาะพันธุ์ปลาตะเพียน | การเพาะพันธุ์ปลายี่สก | การเพาะพันธุ์ปลาจีน | การเพาะพันธุ์ปลาไน | การเพาะพันธุ์ปลากระพง | การเพาะพันธุ์ปลาบึก | การเพาะพันธุ์ปลาเทโพ | การเพาะพันธุ์ปลากราย | การเพาะพันธุ์ปลากระโห้ | คำถามที่พบบ่อย | จำหน่ายลูกปลา | ประทีปพันธุ์ปลา | ติดต่อฟาร์มพันธุ์ปลา

© Copyright ประทีปพันธุ์ปลา (Bestfish4u.com) จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกชนิด  All rights reserved.