ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา
3 ชนิด คือ ปลาเฉาหรือเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้า
ปลาลิ่นหรือปลาลิ่นฮื้อ หรือปลาเกล็ดเงิน และปลาซ่งหรือซ่ง
ฮื้อหรือปลาหัวโต ปลาทั้งสามชนิดนี้เป็นปลาที่นำเข้ามาจากประเทศจีน
เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทย พบว่า ปลาทั้งสามชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีโดยเฉพาะ
การเลี้ยงในบ่อที่มีขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ปลาจะไม่วางไข่ในบ่อเลี้ยง
จึงจำเป็นต้องเพาะพันธุ์ดดยวิธีการฉีดฮอร์โมนผสมเทียม
แหล่งกำเนิด
ปลาจีน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่น
แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง
ลักษณะทั่วไป
ในบรรดาปลาจีนทั้ง 3 ชนิดนี้ ปลาลิ่นและปลาซ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากที่สุด
จะสังเกตุความแตกต่างได้จากลักษณะของหัว ซึ่งปลา ซ่งมีหัวค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปลาหัวโต (Bighead carp)
ไม่มีสันบริเวณท้อง ตรงข้ามกับปลาลิ่นซึ่งมีหัวขนาดเล็ก
กว่าและมีสันแหลมบริเวณท้อง ปลาทั้งสองชนิดนี้มีเกล็ดสีเงินแวววาว
แต่บางครั้งเกล็ดของปลาซ่งจะมีสีดำเป็นจุดอยู่บนเกล็ดบางส่วน
สำหรับปลาเฉานั้นมี เกล็ดขนาดใหญ่ นอกจากนั้นลำตัวยังกลมและยาวมากกว่า
ส่วนหลังมีสีดำน้ำตาล ส่วนท้องสีขาว
ปลาเกล็ดเงิน (ปลาลิ่น) (Silver carp)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichtys molitrix (Cuv.&Val)
ส่วนหัวมีขนาดปานกลาง ปากเชิดขึ้นเล็กน้อยอยู่ปลายสุดของหัว
ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นมาเล็กน้อย ตาค่อนข้างเล็กและอยู่ต้ระดับกึ่งกลางลำตัว
ส่วนหนังของเหลือกไม่เชื่อมสนิทกับแก้มส่วนล่าง มีอวัยวะ
Super branchial อยู่ ซี่กรองเหงือกติดต่อกันเหมือนตะแกรงที่มีลักษระคล้ายฟองน้ำ
ฟันที่คอหอยมีข้างละแถวๆ ละ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนเป็นร่องละเอียด
ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน
ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14
ก้าน ครีบอกมีครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมี ก้านครีบแขนง 17
ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และมีครีบแขนง 8
ก้าน เกล็ดบนเส้นข้างลำตัวมี 110-123 เกล็ดลำตัวรูปกระสวยแบนข้างส่วนท้อง
เป็นสันยาวจากอกถึงรูก้น ลำตัวส่วนหลังสีดำ เทา ส่วนอื่นๆ
สีเงิน
ปลาหัวโต (ปลาซ่ง) (Bighead carp)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aristichthysnobilis (Richardson)
ส่วนหัวมีความยาวประมาณ 1 ใน 3 ของลำตัว ปากอยู่ปลายสูงสุดและ
เชิดขึ้นข้างบน ขากรรไกรล่างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อยตาค่อนข้างเล็กอยู่ต่ำเยื้องมาทางส่วนหน้าซี่กรองเหงือกถี่และมีขนาดเล็กแต่ไม่ติดกัน
ที่คอหอยมีฟัน ข้างละแถวๆ 4 ซี่ พื้นหน้าตัดของฟันแบนและเรียบ
ครีบบนหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และก้านครีบแขนง 11-14
ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้านและ ก้านครีบแขนง 17
ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว 1 ก้าน และก้านครีบแขนง
8 ก้าน เกล็ดเล็กที่เส้นข้างลำตัว มี 95-105 เกล็ด ลำตัวกระสวย
ส่วนท้องเป็น สัน ตั้งแต่ครีบท้องถึงครีบก้น หางแบนข้างและเป็นสัน
ส่วนหลังจะมีสีคล้ำและจุดดำบางแห่งท้องเหลือง
ปลากินหญ้า (ปลาเฉา) (Grass carp)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ctenopharyngodon idellus (Cuv.&val)
ส่วนหัวค่อนข้างแบนปากอยู่ปลายสุดเฉียงขึ้นเล็กน้อยขากรรไกร
ล่างสั้นกว่าขากรรไกรบน ตาเล็ก ซี่เหงือกติดต่อกับแก้ม
ซี่กรองเหงือกห่างและสั้น ฟันที่คอหอยมีอยู่ 7 แถวคล้ายหวี
ข้างซ้ายมี 2-5 ซี่ ข้างขวามี 2-4 ซี่ครีบ หลังสั้นมีก้านครีบเดี่ยว
3 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว
3 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยว
2 ก้าน ก้านครีบ แขนง 14 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบเดี่ยว
1 ก้าน และก้านครีบแขนง 8 ก้าน เกล็ดขนาดใหญ่บริเวณข้างลำตัว
34-35 เกล็ด ลำตัวรูปกระสวยคล้ายทรงกระบอก หางแบนข้าง
ส่วนหลังมีสีดำ น้ำตาล ท้องสีขาว
การเพาะพันธุ์ผสมเทียมปลาจีน
1.การเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์
ควรเลี้ยงในบ่อดินขนาดประมาณ 800 ตารางเมตรขึ้นไป ปลาจีนทั้ง
3 ชนิดนี้สามารถปล่อยรวมกันได้ในอัตรา 50-80 ตัว/ไร่ (ปลาขนาด
2-3 กิโลกรัม) ในเรื่องอาหารนั้นควรเตรียมอาหารธรรมชาติ
โดยใส่ปุ๋ยคอก 250 กิโลกรัม/ไร่ ประมาณ 5-7 วัน น้ำจะเขียว
เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งน้ำเริ่ม จางก็เติมปุ๋ยคอกในอัตราครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ใส่ครั้งแรก
สำหรับปลาเฉานั้น ควรให้ข้าวเปลือกงอกเป็นอาหารเสริม
อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกอาจให้อาหารเม็ดสำหรับปลากินพืชในอัตรา
1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวก็ได้ ในระหว่างการเลี้ยงควรมี
การถ่ายเทน้ำ(หรือเติมน้ำ) เข้าบ่อ 3-4 ครั้ง/เดือน โดยเฉพาะในช่วง
1-2 เดือน ก่อนฤดูการผสมพันธุ์ สำหรับอายุแม่ปลานั้นแมีปลาที่มีอายุประมาณ
1-2 ปี จะให้ไข่ที่มีคุณภาพดี
2.การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์
ก่อนที่คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ต้องงดให้อาหาร 1 วัน เพื่อจะสามารถสังเกตท้องปลาได้แน่นอน
ในกรณีที่เลี้ยงโดยการใส่ปุ๋ย ควรนำพ่อ-แม่ ปลามาขังไว้ในบ่อพักก่อนการคัดเลือกประมาณ
5-6 ชั่วโมง แม่ปลาที่มีไข่แก่จัดสังเกตุได้จากส่วนท้องอูมเป่ง
ผนังท้องบาง จับดูรู้สึกนิ่มหยุ่นมือช่องเพศและ ช่องทวารหนักหนักพวมพองมีวีแดงเรื่อๆ
สำหรับปลาเพศผู้ไม่ค่อยมีปัญหามากนักอาจจะลองรีดน้ำเชื้อดูเล็กน้อยหากน้ำเชื้อมีสีขาวขุ่นหยดลงน้ำแล้วกระจาย
ดีก็ใช้ได้ แต่หากน้ำเชื้อค่อนข้างใสมีสีอมเหลืองหรืออมชมพูหยดลงน้ำกระจายไม่สม่ำเสมอ
ไม่ควรนำตัวผู้นั้นมาผสมเทียม
.3.การฉีดฮอร์โมน
ในการเพาะพันธุ์ปลาจีนนั้น ในอดีตนิยมใช้ต่อมใต้สมองร่วมกับ
HCG แต่ปัจจุบันนิยมใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ LHRH-a ร่วมกับยา
เสริมฤทธิ์ Domperidone
4.การผสมพันธุ์
เมื่อได้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หลังจากการฉีดแม่ปลาควรเริ่มสังเกตอาการของแม่ปลา
เมื่อแม่ปลามีอาการกระวนกระวายผิดปกติว่าย น้ำไปมาอย่างรุนแรง
ควรตรวจสอบแม่ปลาโดยใช้เปลผ้าตักแม่ปลาขึ้นมาตรวจสอบ เมื่อพบว่าไข่ไหลพุ่งออกมาอย่างง่ายดาย
ก็นำมารีดและทำการผสมเทียม กับน้ำเชื้อตัวผู้
5.การฟักไข่
เนื่องจากไข่ของปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นไข่ครึ่งจมครึ่งลอย
จึงต้องพักในระบบกรวยฟัก เช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาวเพียงแต่ต้องลด
ปริมาณไข่ในแต่ละกรวยให้น้อยลง เนื่องจากไข่ปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าไข่ปลาตะเพียนขาว
โดยกรวยฟักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ลึก 60 เซนติเมตร
จะฟักไข่ปลาจีนได้ประมาณ 30,000-50,000 ฟอง เมื่อระยะเวลาผ่านไปประมาณ
20-24 ชั่วโมง จะฟักเป็นตัวที่อุณหภูมิน้ำ 28-30 องศาเซล
เซียส
การอนุบาลลูกปลา
ลูกปลาทั้ง 3 ชนิด เมื่อแรกออกจากไข่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากจะเริ่มกินอาหารภายในระยะเวลา
2-3 วัน การอนุบาลลูกปลาทั้ง 3 ชนิดนี้ ในระยะเวลา 2-3
วันแรก จะให้กินไข่แดงต้มละลายน้ำ ฉีดให้กินวันละหลายครั้ง
หลังจากนั้นจึงย้ายลูกปลาลงบ่ออนุบาล ซึ่งเป็นบ่อดินที่เตรียมไว้อย่างดีก็คือ
กำจัดศัตรูปลาโรยปูนขาวและใส่ปุ๋ยจนน้ำมีสีเขียว ในระยะแรกยังให้ไข่ปลาเป็นอาหารอยู่
จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นรำผสมปลาป่นถ้าปล่อยลูกปลาในอัตรา
1,000-1,500 ตัว/ตารางเมตร อนุบาล 3-4 สัปดาห์ จะได้ลูกปลาขนาดประมาณ
2.5 เซนติเมตร
อีกวิธีหนึ่งคือ นำพันธุ์ปลาที่ซื้อจากฟาร์มจำหน่ายลูกปลา
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มาเลี้ยงโดยเลี้ยงลูกปลารวมกันในอัตรา
ส่วนปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาซ่ง 12-15 ตัว/ตารางเมตร
หรือปลาเฉา 5-7 ตัว/ตารางเมตร ปลาลิ่น 12-15 ตัว/ตารางเมตร
เมื่อเลี้ยงได้ขนาด 10- 15 เซนติเมตร จัดคัดขนาดลงในบ่อเลี้ยงเพราะปลาขนาดนี้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมบูรณ์
เช่น ปลาเฉามีฟันที่คอหอยที่สมูรณ์พอที่จะตัดบดหญ้าหรือ
วัชพืชน้ำก็ได้ เมื่อคัดประมาณ 10-15 เซนติเมตร ออกไปเลี้ยงหรือจำหน่ายแล้ว
ควรปล่อยปลาเล้กทดแทนตามจำนวนปลาที่คัดออกไปพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอก
และให้อาหารได้แก่ กากถั่วเหลือง รำละเอียด แหนเป็ด ผำน้ำ
วัชพืชน้ำและหญ้า เป็นอาหารเพิ่มเติม
การจัดการบ่อเลี้ยง
จากสถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ปี 2546 พบว่า ประเทศไทยมีฟาร์มเลี้ยงปลาจีนทั้งสามชนิดอยู่
613 ฟาร์มรวมเนื้อที่ 721.97 ไร่ ผลผลิต 200.07 ตัน (ศูนย์สารสนเทศ,2546)
และจากการศึกษาพบว่า ปลาจีนทั้งสามชนิดนั้นจะเจริญเติบโตได้เร็วมากถ้าหากได้รับการเลี้ยงอย่างถูกวิธีซึ่ง
พอจะจำแนกปัจจัยที่ทำให้การเลี้ยงได้ผลผลิตสูงขึ้นดังนี้
1.ความลึกของน้ำ 1.5-2.0 เมตร
2.ขนาดของบ่อ ควรมีขนาด 2-5 ไร่
3.คุณสมบัติของดิน ดินปนทรายดีที่สุด เพราะทำให้การเน่าสลายของพวกอินทรีย์สารดี
มีการดูดซึมพวกปุ๋ยและการคงไว้ขนาดพวก เกลือแร่อย่างดี
4.รูปแบบบ่อ ควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ความยาว:ความกว้าง:
3:2) ซึ่งงายและสะดวกต่อการจัดการ
5.การทำความสะอาดบ่อ หลังจากการเลี้ยงปลาไปในระยะหนึ่งพื้นก้นบ่อจะมีตะกอนเพิ่มขั้นเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นควรจะมีการลอก เลนกำจัดตะกอน ที่เกิดขึ้นออกจากบ่อ
6.คุณสมบัติของน้ำ ควรมีความเป็นกรดเป็นด่าง 7-8.5 และปริมารออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำระหว่างการเลี้ยงควรสูงกว่า
2 ppm. เพราะถ้าปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำกว่า 2 ppm. ปลาจะกินอาหารน้อยลง
และจะหยุดกินอาหารเมื่อออกซิเจนต่ำกว่า 1 ppm. ปลาจะลอยหัวและตายเมื่อออก
ซิเจนในน้ำอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 ppm. ดังนั้นถ้าสังเกตเห็นปลาที่เลี้ยงมีการลอยหัวจะต้องทำการเปลี่ยนน้ำ
หรือฉีดพ่นผ่านอากาศลงในบ่อเพื่อเพิ่มออกซิเจน อุณหภูมที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง
25-30 องศาเซลเซียส
7.การเตรียมบ่อ ในกรณีที่เป็นบ่อเก่า ควรปรับปรุงบ่อโดยนำโคลนหรือซากอินทรีย์วัตถุที่เหลืออยู่ในบ่อออกเสียก่อนที่จะปล่อยปลาลง
เลี้ยงถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น สารพิษต่างๆ เช่น กรดอินทรีย์
ไฮโดรเจนซัลไฟด์และแก๊สมีเทน ฯลฯ จะสลายออกมาจากสารเน่าเปื่อยได้ง่ายและเร็วขึ้น
สำหรับบ่อซึ่ง เคยมีปัญหาเรื่องโรคปลาควรมีการฆ่าเชื้อเสียก่อน
และเมื่อพบรอยรั่วหรือรูตามคันบ่อให้รีบซ่อมแซมทันที หลังจากทำความสะอาดบ่อแล้วจึงทำการตากบ่อ
โดยใช้ปูนขาวและกากชากำจัดศัตรู
ในกรณีที่เป็นบ่อใหม่ถ้าดินเป็นกรดมากควรใส่ปูนขาว เพื่อแก้สภาพความเป็นกรดของดินให้เจือจางหรือหมดไป
อัตราส่วนการใช้ปูน ขาว 1 กิโลกรัมต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร
การใส่ปุ๋ยให้ระบายน้ำเข้าบ่อประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยตากแดดทิ้งไว้ประมาณ
3-5 วัน จะมีไรน้ำเกิด ขึ้น ให้ปล่อยปลาลงเลี้ยง
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
การเลี้ยงปลาจีนไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น
การพิจารณาการเลี้ยงปลายังต้องคำนึงถึงเรื่องการตลาดว่า
เมื่อเลี้ยงปลาจีน ชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาแล้วสามารถจำหน่ายได้หรือไม่
ดั้งนั้นเกษตรกรจึงควรเลือกเลี้ยงปลาจีนชนิดไหนก็ได้ที่ตอบสนองตลาดได้ดี
สำหรับรูปแบบการเลี้ยง นั้น นอกจากจะพิจารณาลักษณะบ่อแล้วต้องพิจารณาลักษณะการกินอาหารของปลาซึ่งจะกล่าวต่อไปโดยสังเขป
ปลาลิ่น เป็นปลากินแพลงก์ตอน โดยปลาที่มีอายุตั้งแต่ 1-8
วัน จะกินแพลงก์ตอนสัตว์ (Zooplankton) เป็นหลัก แต่เมื่ออายุมากกว่า
นี้จะกินแพลงก์ตอนพืช (phytoplankton) หรือน้ำเขียวเป็นหลักและกินแพลงก์ตอนสัตว์รองลงมา
ปลาซ่ง เป็นปลากินแพลงก์ตอนโดยจะกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นหลักตั้งแต่เล็กจนโต
ปลาเฉา ปลาขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 15 เซนติเมตร จะกินอาหารจำพวกเดียวกัลหลาลิ่นและปลาซ่ง
คือแพลงก์ตอนสัตว์และแพลงก์ ตอนพืช แต่เมื่อมีขนาดโตขึ้นจะกินอาหารพวกพรรณไม้น้ำและหญ้า
จากลักษณะการกินอาหารของปลาจีนทั้งสามชนิดพอเป็นแนวทางในการจัดบ่อเลี้ยง
อันได้แก่การใส่ปุ๋ยคอกให้เหมาะสม จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงปลาจีนทั้งสามชนิดตอนที่มีขนาดเล็กนั้นไม่ควรเลี้ยงรวมกัน
แต่เมื่อปลาโตขึ้นก็สามารถนำมาเลี้ยงรวมกันได้ แต่ต้องเตรียมอาหารในบ่อให้ถูกต้องกับ
ลักษณะการกินอาหารของปลาที่เลี้ยง ปัจจุบันการเลี้ยงปลาควรหันมาสนใจเรื่องตลาดให้มากขึ้นเพราะว่าการจัดการเรื่องอาหารนั้น
สามารถให้อาหารสมทบ หรืออาจเป็นอาหารสำเร็จรูปของปลากินพืช
โดยให้ในอัตรา 1-2% ของน้ำหนักตัวปลาที่ปล่อย
รูปแบบการเลี้ยง
สำหรับรูปแบบการเลี้ยงนั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.การเลี้ยงปลาจีนแบบรวมกันเองใช้บ่อขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไปปล่อยปลาเฉา
ลิ่น ซ่ง และปลาไน อัตราส่วน 2:1:1:1 อัตราการ ปล่อยปลา
1 ตัว/4 ตารางเมตร สำหรับปลาที่ปล่อยควรมีขนาด 10-15 เซนติเมตร
(ได้จากที่กล่าวมาแล้ว) โดยใช้หญ้าสดเป็นอาหารและใส่ปุ๋ยคอกเป็นหลัก
นอกจากนั้นให้อาหารปลาสมทบแก่ปลาปริมาณ 2% ของน้ำหนักปลา
2.การเลี้ยงปลาจีนในคอก โดยเลือกแหล่งน้ำที่เป็นอ่างที่มีความลึกในระดับ
3-5 เมตรและในที่ดังกล่าวควรมีระดับน้ำต่ำสุดประมาณ 1.5
เมตร ขนาดของคอกควรมีพื้นที่ประมาณ 200-1,600 ตารางเมตร
โดยใช้อวนพลาสติกขนาดช่องตาประมาณ 2.5-5.0 เซนติเมตร ตามขนาดปลาที่
เลี้ยง การปล่อยควรปล่อยปลาเฉาเป็นหลัก (ถ้าแหล่งน้ำนั้นมีพรรณไม้น้ำมาก)
ขนาดปลาเฉาที่ปล่อยควรมีขนาดไม่ต่ำกว่า 15 เซนติเมตร สำหรับปลาชนิดอื่น
เช่น ลิ่น ซ่ง และปลาไน ควรปล่อยรวมกันประมาณ 30% ของปลาทั้งหมด
อัตราที่ปล่อยปลาในคอกประมาณ 1-2 ตัว/ตารางเมตร
3.การเลี้ยงปลาจีนร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
เพราะเป็นการเพิ่มผลผลิตปลาในบ่อ เช่น การเลี้ยงปลา สวายหรือปลานิลจะปล่อยปลาซ่งไปในอัตราส่วน
10% ของปริมาณปลาที่ปล่อยไปทั้งหมดการเลี้ยงแบบนี้ใช้มูลสุกรสำหรับอาหารปลาสวายและปลานิลส่วน
ปลาซ่งเป็นปลาที่ช่วยกินแพลงก์ตอนในบ่อหรือการเลี้ยงปลาสวายในบ่อร่วมกับปลานิลโดยใช้เศษอาหารที่เหลือจากร้านอาหารโดยจะปล่อยปลาเฉา
ปลาลิ่น ปลาซ่งและปลาไน เพิ่มขึ้นอีกประมาณไร่ละ 20 ตัวทั้งนี้เมื่อรวมลูกปลาที่ปล่อยลงทั้งหมดประมาณ
5 ตัว/ตารางเมตร โดยมีการจัดการที่ดีในด้านอาหารและ ควรรักษาตคุณสมบัติของน้ำในบ่อ
ผลผลิตของปลาโดยการเลี้ยงปลาแบบรวมนี้จะได้ประมาณ 1,000-2,000
กิโลกรัม/ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่ใช้เลี้ยงและ สถานที่ตั้งของบ่อที่สามารถถ่ายเทน้ำได้สะดวกทุกฤดูกาล
การจับและลำเลียงปลาเล็ก
เนื่องจากพันธุ์ปลาจีนเป็นปลาที่ตายง่าย การจับและการลำเลียงต้องระมัดระวังให้มากขึ้นเพื่อมิให้ปลาบอบช้ำ
สาเหตุที่ปลาบอบช้ำมีหลาย ประการ
1.เครื่องมือจับปลา ต้องเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น
อวนควรเลือกขนาดที่ปลาไม่ติดช่องตาอวนหรือจะใช้ยอ อวนป่านเปล
ส่วนแหไม่ เหมาะที่จะนำมาใช้
2.วิธีตีอวน แม้จะเป็นเครื่องมือที่ดีแต่หากตีอวนไม่เป็นปลาจะได้รับความบอบช้ำ
3.การตักและนับปลา เมื่อได้ตีอวนรวบปลามาอยู่ในถุงอวนแล้วควรพักลูกปลาให้ขับถ่ายของเสียสักระยะหนึ่งก่อน
และควรมีน้ำพ่นเป็น ฝอยเพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้ปลาหายใจ
การตักและนับปลาต้องระมัดระวังเครื่องมือที่ใช้ควรเป็นกระสอบผ้าไนล่อนเนื้อนิ่มหรือจานสังกะสีเคลือบไม่ควรใช้มือ
หรือกระชอนไม้ไผ่เป็นอันขาาด
4.การลำเลียง ปัจจุบันนิยมใช้ลำเลียงโดยถุงพลาสติกอัดแก๊สออกซิเจน
การป้องกัน
เมื่อได้ปล่อยปลาลงเลี้ยงการป้องกันควรมีลวดตาข่ายถี่หรืออวนกั้นล้อมขอบบ่อจะช่วยให้ปลารอดตายมากขึ้น
ฤดูร้อนปลากินอาหารดีมีอัตรา การเจริญเติบโตเร็วกว่าฤดูฝนและฤดูหนาว
ในฤดูฝนเวลาเช้าปลามักจะลอยบนผิวน้ำเป็นประจำ เนื่องจากอากาศครึ้มออกซิเจนในน้ำมีน้อยไม่เพียงพอกับความ
ต้องการของปลาส่วนฤดูร้อนและฤดูหนาวอากาศแจ่มใส มีแสงแดดพรรณไม้น้ำและพืชที่มีสีเขียวสามารถปรุงอาหารได้ในเวลาเดียวกันก็จะคายออกซิเจนออก
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อปลาและสิ่งที่มีชีวิตซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ
ข้อควรพึงระวังเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาจีน
1.ศัตรู ผู้เลี้ยงปลาจะประสบความสำเร็จและได้ผลกำไรมากหรือน้อยนั้น
ศตรูเป็นสิ่งสำคัญที่ระมัดระวังโดยเฉพาะ นก งู กบ และปลากิน
เนื้อบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ฯลฯ
2.น้ำเสีย เมื่อสังเกตเห็นปลาลอยหัวบนผิวน้ำติดๆกัน 3
วัน ในเวลาเช้าแสดงว่าน้ำเสียปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของ
ปลาควรเปลี่ยนน้ำใหม่
3.อาหาร ควรให้อาหารประจำทุกวันและกำจัดเศษอาหารที่เหลือหากปล่อยทิ้งไว้น้ำอาจเสียได้
4.ขโมย เนื่องจากเป็นปลาราคาดีและจำหน่ายได้ง่าย ผู้เลี้ยงมักจะถูกแกล้งและถูกขโมย
ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงขาดทุน
การจำหน่าย
ปัจจุบัน ปลาจีนมีการจำหน่าย 2 รูปแบบ คือขนาด 7-8 ขีด
นำไปประกอบอาหารโต๊ะจีนและขนาด 1.5-2 กิโลกรัม เช่น ปลานึ่ง
หัวปลาหม้อ ไฟ ฯลฯ
แนวโน้มการเลี้ยงปลาจีนในอนาคต
แนวโน้มด้านการตลาดของปลาจีนยังคงอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณความต้องการบริโภคสูง
เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดีราคาไม่แพงมากนัก และนิยมประกอบอาหารเป็นปลาจานระดับภัตตาคาร
อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาจีนในขณะนี้ ส่วนใหญ่มิได้เลี้ยงปลาเป็นหลักแต่จะปล่อยเสริมเพื่อการใช้ประ
โยชน์จากทรัพยากรในแหล่งน้ำโดยมิให้เกิดความสูญปล่า เนื่องจากปลาจีนจะกินอาหารต่างระดับกับปลาหลัก
มีอัตราการเจริญเติบโตเร็วไม่ค่อยพบปัญหา โรคระบาด ดังนั้นปลาจีนจึงเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีตลาดค่อนข้างจะแน่นอน
อันจะเสริมสร้่งความมั่นใจให้แก่ผู้เลี้ยง
|