เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ—เธธเธเธŠเธ™เธดเธ” เน€เธŠเนˆเธ™ เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธšเธดเนŠเธเธญเธธเธข เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธฃเธฑเธชเน€เธ‹เธตเธข เธ›เธฅเธฒเธชเธงเธฒเธข เธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธดเธ” เธ›เธฅเธฒเนเธฃเธ” เธ›เธฅเธฒเธ—เธฑเธšเธ—เธดเธก เธ›เธฅเธฒเธ™เธดเธฅ เธ›เธฅเธฒเธˆเธฒเธฃเธฐเน€เธกเน‡เธ” เนเธฅเธฐเธญเธทเนˆเธ™เน† เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธชเนˆเธ‡เธ—เธฑเนˆเธงเน„เธ—เธข

เธšเธฃเธดเธซเธฒเธฃเธ‡เธฒเธ™เน‚เธ”เธข เธ›เธฃเธฐเธ—เธตเธ›เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ
เธ—เธตเนˆเธ•เธฑเน‰เธ‡เธŸเธฒเธฃเนŒเธกเธ›เธฅเธฒ 120/2 เธซเธกเธนเนˆ 3 เธ•.เน€เธเธฃเธตเธขเธ‡เน„เธเธฃ เธญ.เน€เธกเธทเธญเธ‡ เธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”เธ™เธ„เธฃเธชเธงเธฃเธฃเธ„เนŒ 60000
089-856-3941 (เน€เธˆเนŠเธ›เธฃเธฐเธ™เธญเธก)
062-446-5364 (เธกเธ”เธ”เธณ)


เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธชเนˆเธ‡ Order เธ‚เธฑเน‰เธ™เธ•เนˆเธณ 15,000 เธšเธฒเธ—

เธ›เธฃเธฐเธ—เธตเธ›เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ” เธ„เธธเธ“เธ เธฒเธžเธเธฒเธฃเธฑเธ™เธ•เธตเธ”เน‰เธงเธขเธ›เธฃเธฐเธชเธšเธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ”เน‰เธฒเธ™เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธกเธฒเธเธเธงเนˆเธฒ 30 เธ›เธต เธŸเธฒเธฃเนŒเธกเธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒเธกเธตเธ„เธงเธฒเธกเนƒเธชเนˆเนƒเธˆเนเธฅเธฐเน€เธŠเธตเนˆเธขเธงเธŠเธฒเธเนƒเธ™เธเธฒเธฃเธ„เธฑเธ”เน€เธฅเธทเธญเธเธžเนˆเธญเนเธฅเธฐเนเธกเนˆเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ—เธตเนˆเธกเธตเธ„เธงเธฒเธกเนเธ‚เน‡เธ‡เนเธฃเธ‡ เธชเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ”เธต เธ›เธฅเธญเธ”เน‚เธฃเธ„ เน€เธžเธทเนˆเธญเธ™เธณเธกเธฒเน€เธžเธฒเธฐเธ‚เธขเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ เธญเธตเธเธ—เธฑเน‰เธ‡เน€เธฃเธฒเธขเธฑเธ‡เธกเธตเธžเธทเน‰เธ™เธ—เธตเนˆเธ—เธตเนˆเธญเธธเธ”เธกเธชเธกเธšเธนเธฃเธ“เนŒเน€เธซเธกเธฒเธฐเธชเธณเธซเธฃเธฑเธšเธญเธ™เธธเธšเธฒเธฅเธฅเธนเธเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ” เนƒเธซเน‰เน„เธ”เน‰เธ‚เธ™เธฒเธ”เธกเธฒเธ•เธฃเธฒเธเธฒเธ™เนเธฅเธฐเธกเธตเธ„เธงเธฒเธกเนเธ‚เน‡เธ‡เนเธฃเธ‡เธญเธฑเธ•เธฃเธฒเธเธฒเธฃเธฃเธญเธ”เธชเธนเธ‡ เน€เธžเธทเนˆเธญเธชเนˆเธ‡เธ–เธถเธ‡เธกเธทเธญเน€เธเธฉเธฃเธเธฃเน„เธ—เธขเธœเธนเน‰เน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ—เธฑเนˆเธงเธ เธนเธกเธดเธ เธฒเธ„ เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ„เธธเธ“เธ เธฒเธžเธกเธฒเธ•เธฃเธเธฒเธ™ เธฃเธฒเธ„เธฒเธขเธธเธ•เธดเธ˜เธฃเธฃเธก เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธชเนˆเธ‡เธ–เธถเธ‡เธ—เธตเนˆ เธ—เธณเนƒเธซเน‰เธ›เธฃเธฐเธ—เธตเธ›เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเน„เธ”เน‰เธฃเธฑเธšเธ„เธงเธฒเธกเน„เธงเน‰เธงเธฒเธ‡เนƒเธˆเธˆเธฒเธเธฅเธนเธเธ„เน‰เธฒเธ—เธฑเนˆเธงเธ เธนเธกเธดเธ เธฒเธ„ เธ”เธณเน€เธ™เธดเธ™เธ‡เธฒเธ™เน‚เธ”เธข เน€เธˆเนŠเธ›เธฃเธฐเธ™เธญเธก เนเธเน‰เธงเธ‡เธฒเธก เนเธฅเธฐเธ™เน‰เธญเธ‡เธกเธ”เธ”เธณ เธฃเธฑเธšเธ›เธฃเธถเธเธฉเธฒเธ›เธฑเธเธซเธฒเน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ เธญเธฒเธ—เธดเน€เธŠเนˆเธ™ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒเนเธฅเธฐเธฅเธนเธเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ” เนเธฅเธฐเธ—เธธเธเน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”

รวมคำถามเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงพันธุ์ปลา และเรื่องปลาๆมาฝากเพื่อนๆ

 

ประทีปพันธุ์ปลา

ก่อนอื่นทีมงานประทีปพันธุ์ปลาทุกคนของกล่าวคำสวัสดีเพื่อนๆ และลูกค้าทุกท่านที่กำลังจะเลี้ยงพันธุ์ปลาน้ำจืด และอีกหลายๆท่านที่มีความสนใจที่จะเลี้ยงปลา วันนี้ได้เรียบเรียงเคล็ดลับวิชาการเลี้ยงปลา จากคำถามคำตอบที่คุณลูกค้าโทรมาซื้อปลาและสอบถามทางฟาร์มปลาของเรา และจากแหล่งความรู้เช่นหนังสือ และเว็บบอร์ด มาฝากกัน หวังว่าข้อมูลด้านล่างเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงพันธุ์ปลาน้ำจืดทุกท่าน

ปัจจัยใดที่นำมาพิจารณาเกี่ยวกับการให้อาหารปลาในกระชัง
ตอบ ระดับโปรตีนในอาหาร ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของปลานิลที่มีอายุต่างกันจะแตกต่างกัน สำหรับลูกปลาวัยอ่อน (Juvenile) และลูกปลานิ้ว (Fingerling) จะต้องการอาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 30-40% แต่ในปลาใหญ่จะต้องการอาหารที่มีโปรตีนประมาณ 25-30%

จะทราบได้อย่างไรว่าปริมาณอาหารที่ให้ปลาเพียงพอสำหรับปลาในบ่อ
ตอบ ปริมาณอาหารที่ให้ปลากินจะขึ้นอยู่กับขนาดของปลาและอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจะทำให้อัตราการกินอาหารของปลาสูงขึ้นตามไปด้วย อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ควรให้อาหาร 20% ของน้ำหนักของปลา สำหรับปลาขนาดเล็กในปลารุ่นอัตราการให้อาหารจะลดลงเหลือประมาณ 6-8% และสำหรับปลาขนาดใหญ่ อัตราการให้อาหารจะเหลือเพียงประมาณ 3-4%

บ่อเลี้ยงปลามีกี่แบบ
ตอบ บ่อเลี้ยงปลามี 3 แบบ คือ บ่อพ่อ-แม่พันธุ์ปลา บ่ออนุบาลลูกปลา และ บ่อเลี้ยง  โดยที่บ่อพ่อ-แม่พันธุ์ปลา ใช้เป็นบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งควรจะมีขนาดเนื้อที่ประมาณ 400-1600 ตารางเมตร  ความลึกประมาณ 1.5 เมตร ส่วน บ่ออนุบาลลูกปลา ใช้เป็นบ่อสำหรับเลี้ยงปลาวัยอ่อนหลังจากออกจากไข่ใหม่ๆ  บ่ออนุบาลลูกปลาไม่ควรมีขนาดใหญ่มากนักสามารถใช้บ่อดิน  บ่อซีเมนต์ตั้งแต่ขนาดเพียงไม่กี่ตารางเมตรถึง 800 ตารางเมตรได้ บ่อเลี้ยงนิยมเป็นบ่อดิน  ขนาดบ่อจะขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขนาดปลาที่เลี้ยง

การเลี้ยงปลาแบ่งออกเป็นกี่แบบ
ตอบ 3 แบบ คือ 1.  การเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียว (แบบเดียว)  2. การเลี้ยงปลาหลายชนิด (แบบรวม) และ 3. การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน

บึกการเลี้ยงปลาแบบชนิดเดียว (แบบเดียว) คืออะไร
ตอบ เป็นการเลี้ยงปลาชนิดเดียวภายในบ่อเลี้ยง   โดยมุ่งหวังผลผลิตสูง  ซึ่งควรเลือกปลาที่มีราคาดี  หรือมีตลาดรองรับ  การเลี้ยงปลาแบบเดียวนี้สะดวกต่อการดูแลรักษาคัดปลาจับส่งตลาด  เพราะเป็นปลาชนิดเดียวกัน การเลี้ยงปลาแบบเดียว เช่น การเลี้ยงปลาดุก เป็นต้น

การเลี้ยงปลาหลายชนิด (แบบรวม) หมายถึงการเลี้ยงปลาอย่างไร
ตอบ เป็นการเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมในบ่อเดียวกัน หรือชนิดเดียวแต่มีขนาดต่างกัน  และไม่มีอันตรายต่อกันด้วย ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบรวมสามารถใช้ประโยชน์ได้จากอาหารที่มีในบ่อปลาอย่างเต็มที่   สามารถทยอยจับปลาใหญ่ออกจำหน่ายได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  ทำให้ขายได้ราคาดี  เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง การเลี้ยงปลาหลายชนิดหรือแบบรวม เช่น การเลี้ยงปลานิล ปลาสลิด ปลาตะเพียน ปลาจีน ปลาไน ปลายี่สก และปลานวนจันทร์ ในบ่อเดียวกัน เป็นต้น

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหมายถึงการเลี้ยงปลาอย่างไร
ตอบ เป็นการเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน   ได้แก่  การเลี้ยงปลาผสมกับการปลูกพืช  เช่น  ปลูกข้าวพร้อมกับการเลี้ยงปลา  เลี้ยงปลาในร่องสวนปลูกผลไม้  การเลี้ยงปลาผสมผสานกับการเลี้ยงเป็ดหรือสุกร  การเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน  เช่น เศษอาหารที่ตกหล่นจากการเลี้ยงสัตว์  สามารถนำกลับมาใช้เป็นอาหารปลา น้ำในบ่อปลาก็ถ่ายลงนาที่ปลุกข้าวแทนที่จะเทลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ  ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยโดยไม่ต้องลงทุน เป็นต้น

ข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานมีอะไรบ้าง
ตอบ
1. สามารถใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อ ใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกเลี้ยงสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็กลายเป็นอาหารปลา และเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือ ของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสีย และช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
3. เป็นการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำออกขาย เกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือ ปลูกพืชอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี

พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยงปลาแบบผสมผสานมีอะไรบ้าง
ตอบ พันธุ์ปลาทุกชนิด ที่สามารถเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีในบ่อ สามารถนำมาใช้เลี้ยงแบบผสมผสานได้ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน มี 4 ชนิดคือ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน และปลาดุกอุยเทศ และมักนิยมปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเดียวกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น เลี้ยงปลานิล ร่วมกับปลาสวาย ปลาตะเพียนกับ ปลานิล หรือเลี้ยงรวมกันทั้ง ปลานิล ปลาสวาย และปลาตะเพียน ส่วนปลาดุกบิ๊กอุย นิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียวในบ่อ

อยากทราบขนาดของปลาและอัตราการปล่อยปลาแบบผสมผสานค่ะ
ตอบ ส่วนใหญ่ลูกปลาทุกชนิดที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อ จะมี ขนาด 1.0-1.5 นิ้ว เนื้อที่ 1 ไร่ จะปล่อยปลาลงเลี้ยงรวมกัน ดังนี้ คือ ปลานิล 4,000-5,000 ตัว ปลาสวาย 2,000-2,500 ตัว ปลาตะเพียน 1,000-1,500 ตัว อัตราส่วนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้ จะเลี้ยงกันในบ่อขนาดใหญ่ประมาณ 15 ไร่ โดยเลี้ยงไก่ ประมาณ 10,000 ตัว หรือ สุกร 220 ตัว พร้อมกันไปด้วย การปล่อยปลาลงเลี้ยงนี้พบว่ามีข้อแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรแต่ละราย หากเกษตรกรต้องการร่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง และต้องการปลาที่มีขนาดใหญ่ ก็ควรลดอัตราปล่อยลงอีก 20-25% หากต้องการยึดระยะการเลี้ยงให้นานออกไป และไม่ต้องการปลาตัวใหญ่มากนัก เมื่อถึงเวลาจับก็เพิ่มอัตราปล่อยมากกว่านี้ได้อีก สำหรับปลาดุกอุยเทศ มักนิยมเลี้ยงเพียงชนิดเดียว และมักเลี้ยงในบ่อที่มีขนาด 5-10 ไร่ จะปล่อยลูกปลาดุกบิ๊กอุย ขนาด 1 นิ้ว ไร่ละ 30,000 - 40,000 ตัว ในบ่อขนาด 5 ไร่ จะปล่อยลูกปลาประมาณ 200,000 ตัว โดยเลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 5,000 ตัวควบคู่ไปด้วย สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงแบบยังชีพ ควรปล่อยปลาให้น้อยกว่านี้ โดยปกติในบ่อปลา ขนาด 1 ไร่ พร้อมกับการเลี้ยงสุกรไว้ 5 ตัว หรือ ไก่ หรือเป็ด 100 ตัว ควรปล่อยปลาชนิดต่าง ๆ ลงเลี้ยงประมาณ 1,000-1,200 ตัว ก็เพียงพอสำหรับการเลี้ยงปลาประมาณ 8 เดือน และได้ปลาขนาดใหญ่ที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคหรือขาย เพื่อเป็นรายได้เสริมอย่างดี หากไม่สามารถเลี้ยงสุกร หรือเป็ด หรือไก่ ได้ตามจำนวนที่แนะนำ ก็ลดจำนวนลงได้ แต่ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย ลงในบ่อปลาในอัตราประมาณ 4 กิโลกรัม/ไร่ ทุกสัปดาห์ เพื่อเสริมประสิทธิภาพของมูลสัตว์ให้ดีขึ้น

ปลาน้ำจืดที่นิยมเลี้ยง แบ่งได้กี่ชนิด
ตอบ ถ้าแบ่งตามนิสัยของการกินอาหารปลาจะแบ่งได้ 4 ชนิด คือ ปลากินพืช ปลากินเนื้อ ปลากินตะไคร่น้ำ และ ปลากินพืชและเนื้อ

ปลากินพืช  ได้แก่ ปลาอะไรบ้าง และอาหารปลากินพืชคืออะไรบ้าง
ตอบ  ปลากินพืชได้แก่ ปลานิล ปลาไน ปลาจีน  ปลาหมอตาล  ปลาตะเพียนขาว  ปลาแรด  ปลาจำพวกนี้ชอบกินอาหารที่เป็นพืช  เช่น  รำ  ปลายข้าว  แหนเป้ด  เศษผัก  หญ้าขน เป็นต้น ปลากินพืชยังแบ่งได้เป็น 2 พวก  คือ พวกปลากินพืชขนาดใหญ่ ได้แก่  ปลาแรด  ปลาสลิด  ปลาตะเพียน  และพวกปลากินพืชขนาดเล็ก  ได้แก่  ปลานวลจันทร์น้ำจืด  ปลายี่สกเทศ  ปลาหมอตาล เป็นต้

ปลากินเนื้อ  ได้แก่ ปลาอะไรบ้าง และอาหารปลากินเนื้อคืออะไรบ้าง
ตอบ ปลากินเนื้อ ได้แก่  ปลาดุก ปลาสวาย  ปลาช่อน ปลาบู่  และแบ่งได้เป็น 3 พวก  คือ  พวกที่กินสัตว์ที่ตายแล้ว  แต่ยังไม่เน่าเปื่อย  เช่น  ปลาดุกด้าน  ปลาดุกอุย  ปลาสวาย  พวกที่กินแมลงเป็นอาหาร  ได้แก่ ปลาไน  ปลาหมอไทย  ปลาเสือตอ ปลาเสือพ่นน้ำ  และพวกที่กินเนื้อหรือลูกปลาที่ยังมีชีวิตอยู่  ได้แก่  ปลาช่อน ปลาชะโด เป็นต้น

ปลากินตะไคร่น้ำ  ได้แก่ ปลาอะไรบ้าง และอาหารปลากินตะไคร่น้ำคืออะไรบ้าง
ตอบ ปลาที่กินตะไคร่น้ำได้แก่ ปลาสลิด  ปลายี่สก ปลาชนิดนี้จะกินตะไคร่น้ำ  สาหร่าย  และพืชสีเขียวเล็กๆ

ปลากินเนื้อและพืช  ได้แก่ ปลาอะไรบ้าง
ตอบ ปลาสวาย ปลายี่สก  ปลาเทโพ

เทคนิคในการเลือกซื้อพันธุ์ปลาที่จะเลี้ยงมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. เลี้ยงง่าย  สามารถกินอาหารธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ เช่น ปลานิล
2. โตเร็ว   มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากอาหารที่กินมาเป็นเนื้อสูง เช่น ปลาทับทิม ปลานิล
3. มีลูกดกและขยายพันธุ์ได้   หาพันธุ์มาเลี้ยงได้ง่าย  การวางไข่หลายครั้ง  เพาะพันธุ์ได้ง่าย
4. อดทน   มีความทนทานสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี เช่น ปลาดุก ปลาสวาย
5. สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นได้   ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน  ควรเป็นปลาที่กินพืชหรือกินแพลงตอน เช่น การเลี้ยง ปลานิล ปลานวลจันทร์ ปลายี่สก ปลาทับทิม ร่วมกันได้
6. เนื้อมีรสดี  ปลามีเนื้อรสชาติดี ปรุงอาหารได้ง่าย
7. มีตลาดจำหน่าย  เพราะปลาบางชนิดมีตลาดแคบไม่เป็นที่นิยม
8.ได้ราคาดี  ควรจะคุ้มค่าทุนที่เลี้ยงมา

หลักในการซื้อลูกพันธุ์ปลามาเลี้ยงต้องพิจารณาอะไรบ้าง
ตอบ 1. ขนาดของลูกพันธุ์ปลา ควรจะให้มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน
2. แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพดี มีความน่าเชื่อถือในคุณภาพของพันธุ์ปลา
3. ลูกพันธุ์ปลาที่นำมาควรมีลักษณะแข็งแรง  ลำตัวมีรูปร่างปกติ  สีสันสดใส  ไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรค

เวลาไหนที่ควรปล่อยลูกพันธุ์ปลาที่ซื้อมาลงบ่อเลี้ยง
ตอบ เวลาที่เหมาะสำหรับการปล่อยปลาคือเวลาเช้าหรือเวลาเย็น  ถ้าเป็นเวลาที่อากาศร้อนจัด  ควรเอามือตีกวนน้ำในบ่อที่ปลาจะอยู่ใหม่เพื่อให้ความร้อนของผิวหน้าน้ำไม่ ต่างจากระดับลึก และควร นำปลาที่ยังอยู่ในถุงพลาสติก แช่ลงในบ่อประมาณ 10-30 นาที เพื่อให้ปลาได้ปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำ หลังจากนั้นค่อยปล่อยปลาจากถุงพลาสติกลงบ่อ

อาหารปลามีกี่ชนิด
ตอบ 3 ชนิด ได้แก่ อาหารธรรมชาติ อาหารสมทบ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป

อาหารปลาธรรมชาติได้แก่ อะไรบ้าง
ตอบ แพลงก์ตอนพืช  แพลงก์ตอนสัตว์  ชีวอินทรีย์ที่เป็นสัตว์  เช่น ลูกน้ำ  ลูกแมลงปอ  ลูกหอย  และแมลงน้ำชนิดอื่นๆ สัตว์น้ำก้นบ่อ  สัตว์ที่ฝังตัวอนยู่ก้นบ่อ  เช่น หนอนแดง  ไส้เดือน ลูกหอยขม และ พืชน้ำ เป็นต้น

อาหารสมทบได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ มีทั้งมาจากพืชและสัตว์ เช่น ใบและต้นพืช  หัวและเมล็ดพืช เศษอาหาร  เช่น กากถั่วเหลือง  กากมะพร้าว กุ้ง หอย ปลาทะเลสด ปลาป่น เศษเนื้อ  เลือดสัตว์  เช่น เนื้อปู ปลา หมู อาจใช้เลี้ยงปลาได้โดยตรงหรือผสมกับอาหารอื่น

อาหารสำเร็จรูปมีกี่แบบ
ตอบ 3 แบบ คือ
1. แบบผง  คล้ายกับนมผงแต่มีสารเคลือบพิเศษที่สามารถทำให้อาหารสามารถลอยน้ำได้
2. แบบเม็ดจม  ลักษณะเป็นผงและแห้ง  มาผสมกับน้ำและไอน้ำแล้วผ่านเครื่องอัดเม็ดให้เป็นรูปร่างต่างๆ
3. แบบเม็ดลอย  อาหารชนิดนี้มีอากาศอยู่ข้างในจึงทำให้มัคุณสมบัติสามารถละลายน้ำได้

ปลาที่กินอาหารตามผิวน้ำ  ได้แก่ปลาอะไรบ้าง
ตอบ ปลานิล  ปลาตะเพียนขาว  ปลาสลิด ปลาสวาย  ปลาแรด  ปลาเสือพ่นน้ำ  ปลาช่อน

ปลาที่กินอาหารกลางๆ น้ำ  ได้แก่ปลาอะไรบ้าง
ตอบ  ปลาสวาย ปลาหมอตาล

ปลาที่กินอาหารตามพื้นท้องน้ำ ได้แก่ปลาอะไรบ้าง
ตอบ ปลาที่กินอาหารจำพวกสัตว์หน้าดิน  ได้แก่ ปลาไน ปลาดุก

ปลากินพืชและปลากินเนื้อแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ปลาที่กินเนื้อจะมีลักษณะปากใหญ่  ขากรรไกรอ้าได้กว้าง  มีฟันแหลมคม ขณะที่ปลากินพืชจะมีลักษณะปากแคบ  ขากรรไกรอ้าได้แคบ มีซี่กรองเหงือกยาวละเอียดกว่าปลากินเนื้อ 
มีคำแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารปลาไหม
ตอบ 1. ให้ปลากินอาหารเป็นเวลาและให้ในเวลากลางวัน
2. ตำแหน่งที่ให้ควรเป็นที่เดิม
3. มีภาชนะรองรับอาหารเป็นที่ๆในบ่อนั้น
4. ก่อนให้อาหารควรให้สัญญาณ  เช่น การทำให้น้ำกระเพื่อม
5. ปรับปริมาณอาหารที่จะให้ทุก 1-2 สัปดาห์

เลี้ยงปลาชนิดไหนดีที่ไม่ต้องลงทุนอาหารปลาสูง และไม่ต้องให้อาหารบ่อย ดูแลง่าย
ตอบ  พวกปลากินพืช เช่น ปลาสลิด ปลาตะเพียน ปลานิล สามารถเลี้ยงแบบธรรมชาติ  อาหารจะเป็นพวก เศษผักผลไม้ จากตลาด  เศษหญ้าขอบบ่อ  เศษขนมจีน  เศษเส้นก๋วยเตียว  ขนมปังหมดอายุก็ได้ ต้นทุนค่าอาหารก็จะต่ำ  และอาจจะเลี้ยงรวมๆ แบบหลายชนิดในบ่อเดียวกันได้ แต่เน้นปลากินพืชเยอะๆ ค่ะ เช่น ตะเพียน ปลานิล  สวาย   ปลาบึก  ปลาแรด   เป็นต้น

มีวิธีลดต้นทุนค่าอาหารปลาดุกไหม เพราะค่าอาหารปลาดุกแพงมาก
ตอบ ทำอาหารให้ปลาดุกเองเลยค่ะ ปลาดุกเป็นปลากินเนื้อ  ซึ่งต้องการอาหารกลุ่มโปรตีน และเป็นปลาที่กินอาหารเก่ง  หากไม่มีอาหารให้กินอย่างเพียงพอ  ปลาก็จะกินกันเอง  ทำให้มีอัตรารอดต่ำ   ต้นทุนในการเลี้ยงปลามากกว่า 70%  จึงเกิดจากค่าอาหาร    หากใช้อาหารสำเร็จรูปในการเลี้ยงก็จะทำให้ได้กำไรน้อย ยิ่งเป็นการผลิตในระดับรายย่อยก็ยิ่งไม่คุ้มทุน ขอแนะนำวิธีการทำอาหารปลาดุกของ คุณสงวน   มงคลศรีพันเลิศ     ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม โดยการเลือกใช้วัตถุดิบจำพวกพืช ซึ่งจะมีสารเซลลูโลสที่ปลาดุกย่อยยากอยู่สูง  การนำวัตถุดิบที่เป็น พืช ผัก ผลไม้ มาหมักกับจุลินทรีย์ จึงทำให้อาหารมีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้น  เพราะนอกจากจุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายวัตถุดิบแล้ว ตัวเซลล์ของจุลินทรีย์เองก็มีโปรตีนสูง และมีวิตามินที่มีประโยชน์อยู่หลายชนิดด้วยมาทำเป็นอาหารเลี้ยงปลาด้วยวิธีการทำง่าย ๆ 2 สูตร คือ
สูตรที่ 1 นำผัก 5 กก.  ข้าวเปลือก 2 กก.  และปลาป่น 1 กก.  มาบดหยาบ ๆ   แล้วใส่รำละเอียด 1 กก.   มูลวัวแห้ง 1 กก.          จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 แก้ว และกากน้ำตาล 1 แก้ว ลงในถัง คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 3 ชั่วโมง  ปั้นเป็นก้อน    แล้วนำไปให้ปลากิน ถ้าอาหารปลาเหลือ  ก็ปั้นเป็นแผ่นแบนๆ นำไปตากแดด สามารถเก็บไว้ให้อีกได้
สูตรที่ 2 นำผลไม้สุกหรือดิบทุกชนิด (ที่มีสีเหลือง สีแดง) 40 กก.  กากน้ำตาล 20 ลิตร  พ.ด.6 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) หมักทิ้งไว้  สังเกตดูพอผลไม้ใกล้เปื่อยก็สามารถให้ปลากินได้ หากหมักผลไม้ที่มีเปลือกหนากับผลไม้ที่สุกเร็ว ไว้ด้วยกัน ให้ดูว่าผลไม้ชนิดใดกำลังจะเปื่อย ก็ให้ปลากินก่อนได้
ข้อดีของการการเลี้ยงปลาด้วยอาหาร 2 สูตรนี้ คือปลาที่เลี้ยงจะมีไขมันต่ำ ไม่มีกลิ่นคาว เนื้อปลามีรสชาติดีเหมือนปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ

จะเลี้ยงปลาแบบไหนที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน ที่ลดต้นทุนและได้ผลผลิตดี
ตอบ การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน  เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่ให้มากที่สุด  สามารถใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันตามความเหมาะสม

อยากทราบว่า การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน  หมายถึงการเลี้ยงปลาอย่างไร
ตอบ เป็นการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์  และปลูกพืชในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นดินและน้ำที่มีอยู่ให้มากที่สุดและให้กิจกรรมนั้น ๆ สามารถใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างเต็มที่ ตามความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นและพยายามลดต้นทุนในการผลิตให้มากที่สดุเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม และคงดำรงผลผลิตอยู่ได้ยาวนาน

อยากทราบว่าข้อดีของการเลี้ยงปลาแบบผสมผสานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. สามารถใช้ประโยชน์ของดินได้เต็มที่ ดินรอบ ๆ บ่อใช้ปลูกพืชผัก และใช้เป็นที่สร้างคอกสัตว์ ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่น ๆ ได้อีก เช่น ผักบุ้ง
2. เศษเหลือของพืชและสัตว์สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น มูลสัตว์ เศษอาหารสัตว์ เศษผักหญ้าต่าง ๆ ซึ่งถ้าตกลงไปในบ่อก็จะกลายเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยสำหรับเติมบ่อปลา  ขณะเดียวกันโคลนเลนก้นบ่อก็สามารถนำมาปลูกพืชต่าง ๆ ได้ดี การนำของเศษเหลือของเสียต่าง ๆ กลับมาใช้อีกนี้เป็นการกำจัดของเสียและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าอาหารปลา ค่าอาหารสัตว์ ค่าปุ๋ย
3. เป็นการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สมารถนำออกขายเกิดเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการต่อไป และเป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์
4. ลดอัตราการเสี่ยวต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกพืชอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุน เพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากัน
5. ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดทั้งปี
6. ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศน์ วิทยา และระบบการผลิต การบริโภค การใช้ ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุลทำให้ระบบการทำฟาร์มดำเนินต่อเนื่องได้นานที่สุดโดยไม่เกิดปัญหา จึงอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดมีข้อดีอย่างไร
ตอบ มูลเป็ดเป็นปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้เพิ่มผลผลิตทางชีววิทยา  และช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลาหรือเป็นอาหารโดยตรง มูลเป็ดก่อให้เกิดแพลงค์ตอนพืชและแพลงค์ตอนสัตว์ตลอดจนสัตว์หน้าดิน  การว่ายน้ำและการใช้อาหารของเป็ด ช่วยเพิ่มอกซิเจนในน้ำ และช่วยให้ธาตุอาหารในดินกระจาย ละลายน้ำเป็นประโยชน์ในการผลิตอาหารธรรมชาติ  อาหารและเศษอาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ด ยังเป็นอาหารปลาหรือบางส่วนจะกลายเป็นปุ๋ย

พันธุ์ปลาอะไรบ้างที่เหมาะสมในการเลี้ยงร่วมกับเป็ด
ตอบ ควรเป็นพันธุ์ปลาที่กินอาหารไม่เลือก หรือกินแพลงค์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลานิล นวลจันทร์เทศ โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ลูกปลาควรมีขนาด 5-7 ซ.ม. อัตรา 3,000 ตัว/ไร่/เป็ดไข่ 240 ตัว  การเลี้ยงเป็ดกับปลาสวายนั้นควรปล่อยเป็ดลงในบ่อ หลังจากเลี้ยงปลาสวาย 2 เดือน ปลาจะมีขนาดพอที่เป็ดไม่สามารถกินเป็นอาหารได้อาหารที่จะใช้เลี้ยงเป็ดมีส่วนผสมคือ ปลายข้าว 50% รำละเอียด 30% หัวอาหาร 20%

การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่สามารถทำได้อย่างไร
ตอบ จุดประสงค์ของการเลี้ยงคล้ายคลึงกับการเลี้ยงปลาร่วมกับเป็ด  คือใช้มูลเพื่อเป็นอาหารปลาและเป็นปุ๋ยช่วยก่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ  ที่จะใช้เป็นอาหารปลาอีกทอดหนึ่ง  มูลไก่ที่ขับถ่ายต่อวันจะมีประมาณ 24-106 กิโลกรัม/ไก่ 1,000 ตัว บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาร่วมกับไก่  ควรเป็นบ่อดินที่สามารถเก็บกักน้ำได้โดยเฉลี่ย 1-1.50 เมตร  ในช่วงของการเลี้ยงร่วมกับไก่  เล้าไก่ควรสร้างคร่อมบ่อปลา เพื่อประโยชน์ในการใช้พื้นที่ และการใช้มูลไก่หรือเศษอาหารในการเลี้ยงปลาโดยตรง  การนำลูกไก่มาเลี้ยงควรเริ่มหลังจากการเตรียมบ่อปลาและน้ำมีสีเขียวดีแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้มูลไก่ตกลงสู่บ่อปลา ลูกปลาจะได้กินอาหารอย่างต่อเนื่อง ควรเลือกลูกปลาที่มีลักษณะแข็งแรงขนาดไล่เลี่ยกัน ขนาดลูกปลากินพืช และกินไม่เลือกควรเป็น 2 นิ้ว และลูกปลาดุกควรมีขนาด 1 นิ้ว

พันธุ์ปลาอะไรบ้างที่เหมาะสมในการเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงไก่
ตอบ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลาจีน ปลาดุกบิ๊กอุย

ช่วยแนะนำจำนวนปลาที่เหมาะสมในการเลี้ยงร่วมกับการเลี้ยงไก่
ตอบ ปลานิล จำนวน 3000 ตัวต่อไร่
ปลานิล 1500 ตัว และปลาสวาย 1500 ตัว ต่อไร่
ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลาจีน รวมกัน 3000 ตัวต่อไร่
ปลาดุกบิ๊กอุย 40000 ตัวต่อไร่
ช่วยแนะนำพันธุ์ปลาการปล่อยปลาแบบรวมด้วยค่ะ
ตอบ ปลานิล ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลาจีน ปลาตะเพียนขาว

แหล่งโปรตีนของอาหารปลามีอะไรบ้าง
ตอบ วัตถุดิบสำหรับเป็นแหล่งโปรตีนของอาหารปลาแบ่งออกเป็น 2 แหล่ง คือ 1. แหล่งโปรตีนจากสัตว์ ได้แก่ ปลาป่น  ปลาสด  เลือดป่น  เนื้อกระดูกป่น  กุ้งป่น  เศษไก่ป่น  ไส้ไก่ ปูป่น ผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น 2. แหล่งอาหารโปรตีนจากพืช ได้แก่ กากถั่วเหลือง  กากถั่วลิสง  การเมล็ดฝ้าย  การกมะพร้าวอัด  กากงา  กากองุ่น ใบกระถินป่น  โปรตีนสกัดเข้มข้นจากข้าวโพด  ข้าวสาลี เป็นต้น

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นพันธุ์ปลาบึกแท้
ตอบ ถ้าเป็นลูกปลาบึกขนาด 3-5 นิ้ว หัวปลาบึกพันธุ์แท้ จะยาวใหญ่และจะงอยปากกว้างค่อนข้างตัดตรง เมื่อมองจากด้านบนคล้ายรูปสี่เหลี่ยม และลูกตาอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากเล็กน้อย หางของปลาบึกพันธุ์แท้ แพนหางบนและล่างเป็นแถบกว้างและถ่างออกจากกัน เป็นมุมกว้าง มีแถบสีดำพาดไปตามความยาวของขอบแพนหางด้วย หัวแก้ม สันหลัง และครีบทุกครีบมีสีเหลืองชัดเจน และลำตัวกว้าง ท่าทีล่ำสันแข็งแรง ตรงกันข้ามกับปลาบิ๊กหวายที่มีหัวแก้ม สันหลัง สีเทาอมดำชัดเจน เมื่อดูด้านข้างลำตัวแคบ ว่องไว ปราดเปรียว

ปลาบึกกินอะไรเป็นอาหาร
ตอบ ตามธรรมชาติปลาบึก เมื่อยังเล็กอยู่จะกินพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ หนอนแดงแมลงในน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลา ไปตามลำดับของอายุ และขนาดของตัวเอง จนถึงเมื่อมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร จึงจะเริ่มเปลี่ยนนิสัยการกิน เพราะฟันในปากเริ่มเสื่อมสูญไป หันมากินพืชในน้ำเป็นอาหารหลัก ปลาบึกหากใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปของปลาดุกหรือปลากินพืชก็จะทำให้ต้นทุน ในการเลี้ยงค่อนข้างสูง เพราะว่าเป็นปลาตัวใหญ่ ซึ่งปัจจุบันนี้ฟาร์มเลี้ยงปลาบึกทั่วๆ ไป มักจะผลิตอาหารขึ้นมาเอง โดยใช้การผสมดังนี้ คือปลายข้าวเหนียว ปลาป่น กากถั่วเหลือง รำละเอียด และน้ำมันพืช ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงปลา

เลี้ยงปลาอย่างไร ให้ได้กำไรดี
ตอบ ใช้วิธีเลี้ยงแบบธรรมชาติด้วยเศษอาหารเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงโดยเฉพาะค่าอาหารปลา ด้วยการใช้เศษอาหารเลี้ยงปลา เช่น เศษอาหารตามศูนย์การค้า โรงแรม และโรงเรียนเศษ อาหารพวกนี้นำมาเลี้ยงปลาสวาย ปลาจะละเม็ด ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุกบิ๊กอุย รวมทั้งปลาบึกด้วย

เลี้ยงปลาบึกเริ่มต้นอย่างไรดี
ตอบ ปล่อยปลาบึก ในอัตรา 1,000 ตัว ต่อไร่ ช่วงแรกใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปปลาดุกมาหว่านให้กินก่อน เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 หรือน้ำหนักตัวได้ครึ่งกิโลกรัม ก็เปลี่ยนอาหารใหม่ โดยให้กินเศษอาหารแทน ซึ่งปลาจะชอบมาก โดยเฉพาะพวกเศษขนมปังและผักต้มกับน้ำก๋วยเตี๋ยวด้วย

ช่วงเวลาไหนที่ควรให้เศษอาหารเลี้ยงปลา
ตอบ ตอนกลางวัน หรือตอนบ่ายๆ หากให้กินช่วงเช้า น้ำภายในบ่อ โดยเฉพาะจุดเทอาหารจะมีสภาพไม่ดี และมีกลิ่นด้วย เพราะว่าแสงแดดน้อย ทำให้ไม่สามารถมาฟอกสภาพน้ำได้ดีอย่างเพียงพอ

ทำไมหลายคนถึงชอบอาชีพเลี้ยงปลา
ตอบ เพราะว่าไม่มีเสียงพูด เสียงบ่น ไม่เหมือนกับเลี้ยงสัตว์อื่นๆ พวกหมู พวกไก่ หากเราไม่ให้อาหารมันก็ร้องเสียงดัง แต่เลี้ยงปลานี้ วันไหนไม่ให้อาหารเลี้ยง หรือมีปริมาณน้อย มันก็ไม่ร้องเสียงดังเหมือนสัตว์อื่นๆ

ปลาบึกใช้เวลาเลี้ยงกี่ปี
ตอบ ปลาบึกนี้ใช้ระยะการเลี้ยงเพียง 1 ปี ก็สามารถเจริญเติบโตได้น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม ต่อปีแล้ว ยิ่งเลี้ยงเข้าปีที่ 3 และ 4 ก็มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 50-80 กิโลกรัมแล้ว ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณหนาแน่นในการปล่อยเลี้ยง และการให้อาหาร รวมทั้งสายพันธุ์ด้วย ปลาบึกนั้น ยิ่งตัวโตก็ยิ่งอร่อย

 

 

 

ประทีปพันธุ์ปลาแนะนำการเพาะเลี้ยงลูกปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ
ฟาร์มปลาของเรามีความห่วงใยเกษตรกรไทย ผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดทุกท่าน เรามีความตั้งใจพัฒนา Bestfish4u ให้เป็นศูนย์รวมของข้อมูลการเพาะพันธุ์ปลา ข้อมูลการเลี้ยงลูกปลาน้ำจืด เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจในการเลี้ยงลูกปลาน้ำจืด เช่น ลูกพันธุ์ปลาดุก ลูกปลานิล ลูกปลานิลหมัน ลูกปลาสวาย ลูกปลาทับทิม และอื่นๆ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับปลาน้ำจืดแลพพันธุ์ปลาได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ผ่านทางเว็บไซต์ฟาร์มประทีปพันธุ์ปลาของเรา เราขอแสดงความขอบคุณที่ทุกท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จำหน่ายพันธุ์ปลาน้ำจืดของเรา

เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธšเธดเนŠเธเธญเธธเธข เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธงเธฒเธข เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เธดเธฅ
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเนเธฃเธ” เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒเธ—เธฑเธšเธ—เธดเธก เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธดเธ”
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธ”เน€เธซเธฅเธทเธญเธ‡ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธšเธถเธ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเน€เธ—เน‚เธž
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฒเธข เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฐเน‚เธซเน‰ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเน€เธžเธตเธขเธ™
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธขเธตเนˆเธชเธ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธˆเธตเธ™ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเน„เธ™
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฐเธžเธ‡ เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธˆเธฒเธฃเธฐเน€เธกเน‡เธ”เธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”  
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมประมง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กรมทรัพยากรน้ำ
 

 

เธเน‰เธฒเธงเธชเธนเนˆเธ›เธตเธ—เธตเนˆ 5 เธเธฑเธšเธเธฒเธฃเธ„เน‰เธฒเธ‚เธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธญเธญเธ™เน„เธฅเธ™เนŒ เธ•เธฑเน‰เธ‡เนเธ•เนˆเธ›เธต 2552


เน€เธฃเธฒเธ‚เธญเธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เน€เธเธฉเธ•เธฃเธเธฃเน„เธ—เธขเธ—เธธเธเธ—เนˆเธฒเธ™ เธ—เธตเนˆเนƒเธซเน‰เธ„เธงเธฒเธกเน„เธงเน‰เธงเธฒเธ‡เนƒเธˆ
เธชเธฑเนˆเธ‡เธ‹เธทเน‰เธญเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฑเธšเธŸเธฒเธฃเนŒเธกเธ‚เธญเธ‡เน€เธฃเธฒ "เธ›เธฅเธฒเธชเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ„เธธเธ“เธ เธฒเธž เน€เธŠเธทเนˆเธญเธ–เธทเธญเน„เธ”เน‰"



 
 

เธ›เธฃเธดเธกเธฒเธ“เธˆเธฑเธ”เธชเนˆเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ–เธถเธ‡เธšเนˆเธญ
เธฅเธนเธเธ„เน‰เธฒเธ‚เธฑเน‰เธ™เธ•เนˆเธณ 15,000 เธšเธฒเธ—
เธ•เนˆเธณเธเธงเนˆเธฒเธฃเธšเธเธงเธ™เธกเธฒเธฃเธฑเธšเธ—เธตเนˆเธŸเธฒเธฃเนŒเธก
เน€เธฃเธฒเธขเธดเธ™เธ”เธตเธ•เน‰เธญเธ™เธฃเธฑเธšเธ„เนˆเธฐ เธฃเธฒเธขเธฅเธฐเน€เธญเธตเธขเธ”เน€เธžเธดเนˆเธกเน€เธ•เธดเธก

ย 
 

เน‚เธ›เธฃเน‚เธกเธŠเธฑเนˆเธ™
เธ›เธฅเนˆเธญเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ
เน€เธžเธทเนˆเธญเธญเธ™เธธเธฃเธฑเธเธฉเนŒเนเธฅเธฐเธ‚เธขเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒ
เน€เธ™เธทเนˆเธญเธ‡เนƒเธ™เธงเธฑเธ™เธชเธณเธ„เธฑเธเธ‚เธญเธ‡เธ„เธธเธ“
เน€เธŠเนˆเธ™เธงเธฑเธ™เน€เธเธดเธ” เนเธฅเธฐ
เธงเธฑเธ™เธชเธณเธ„เธฑเธเธ—เธฒเธ‡เธจเธฒเธชเธ™เธฒ ...

 
 
   
  เน€เธ—เธ„เธ™เธดเธ„เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”
  เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ™เธดเธฅเธซเธกเธฑเธ™
   
  เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เน€เธจเธฃเธฉเธเธเธดเธˆ
 
เธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฒเธข
เธ›เธฅเธฒเธŠเธฐเน‚เธ”
เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธญเธธเธข
เธ›เธฅเธฒเน€เธ™เธทเน‰เธญเธญเนˆเธญเธ™
เธ›เธฅเธฒเธšเธนเนˆเธ—เธฃเธฒเธข
เธ›เธฅเธฒเธฅเธดเน‰เธ™เธซเธกเธฒ
เธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธฒเธ”
เธ›เธฅเธฒเธซเธกเธญเธŠเน‰เธฒเธ‡เน€เธซเธขเธตเธขเธš
เธ›เธฅเธฒเธซเธกเธนเธ‚เธฒเธง
เธ›เธฅเธฒเน„เธซเธฅ
เธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเน€เธžเธตเธขเธ™เธ—เธฃเธฒเธข
เธ›เธฅเธฒเธชเธงเธฒเธข
เธ›เธฅเธฒเธชเธฃเน‰เธญเธขเธ‚เธฒเธง
เธ›เธฅเธฒเธ™เธงเธฅเธˆเธฑเธ™เธ—เธฃเนŒ

เธ›เธฅเธฒเธŠเนˆเธญเธ™
เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธ”เน‰เธฒเธ™
เธ›เธฅเธฒเน€เธ—เน‚เธž
เธ›เธฅเธฒเธšเธถเธ
เธ›เธฅเธฒเธขเธตเนˆเธชเธ
เธ›เธฅเธฒเธชเธฃเน‰เธญเธขเน€เธเธฅเน‡เธ”เธ–เธตเนˆ

เธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธดเธ”
เธ›เธฅเธฒเธซเธกเธญ
เธ›เธฅเธฒเธซเธฅเธ”
เธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเน€เธžเธตเธขเธ™
เธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเน€เธžเธตเธขเธ™เธ—เธญเธ‡
เธ›เธฅเธฒเธซเธกเธญเน€เธ—เธจ
เธ›เธฅเธฒเธชเธฑเธ‡เธเธฐเธงเธฒเธ”
  เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ‚เธญเธ‡เน„เธ—เธข
 
เธเธ”เธซเธดเธ™ เนเธ‚เธขเธ‡เธซเธดเธ™
เธเธฃเธฐเธ”เธตเนˆเธ™เธฒเธ‡
เธเธฐเธชเธนเธšเธ‚เธตเธ”
เธเธฒ เน€เธžเธตเน‰เธข
เน€เธ‚เน‡เธก
เนเธ‚เธขเธ‡เธ˜เธ‡
เน€เธ„เน‰เธฒเธ‚เธฒเธง
เธŠเนˆเธญเธ™เธ‡เธนเน€เธซเนˆเธฒ
เธ•เธญเธ‡เธฅเธฒเธข
เธ•เธฐเธžเธฒเธ เธ›เธตเธ
เธšเธถเธ เน„เธ•เธฃเธฃเธฒเธŠ
เธกเน‰เธฒ เธเธงเธฒเธ‡
เน€เธงเธตเธขเธ™
เธ›เธฅเธฒเธ™เธดเธฅ
เธเธฃเธฐเธ”เธตเนˆเธซเธกเน‰เธญ
เธเธฐเธ—เธธเธ‡เน€เธซเธง
เธเธฐเนเธซเธ—เธญเธ‡
เนเธเน‰เธกเธŠเน‰เธณ
เธฅเธนเธเธœเธถเน‰เธ‡ เธญเธตเธ”เธนเธ”
เน€เธชเธทเธญเธžเนˆเธ™เธ™เน‰เธณ
เธซเธฒเธ‡เน„เธซเธกเน‰
เธเธ”เน€เธซเธฅเธทเธญเธ‡
เธเธฐเธ—เธดเธ‡เธ”เธณ เธซเธฅเธฒเธ”
เธเธฐเธชเธนเธšเธˆเธธเธ”
เธเน‰เธฒเธ‡เธžเธฃเธฐเธฃเนˆเธงเธ‡
เนเธ‚เธขเธ‡เธ‚เน‰เธฒเธ‡เธฅเธฒเธข
เธ„เธฒเธ‡เน€เธšเธทเธญเธ™
เธˆเธตเธ”
เธ”เธธเธเธฅเธณเธžเธฑเธ™
เธ•เธฐเน‚เธเธ เน‚เธˆเธ
เธ•เธนเธซเธ™เธฒ เน„เธซเธฅเธซเธนเธ”เธณ
เธžเธฃเธกเธซเธฑเธงเน€เธซเธกเน‡เธ™
เนเธฃเธ” เน€เธกเนˆเธ™ เธกเธดเนˆเธ™
เธซเธฑเธงเธ•เธฐเธเธฑเนˆเธง เธซเธฑเธงเน€เธ‡เธดเธ™
เธ›เธฅเธฒเธ—เธฑเธšเธ—เธดเธก
เธเธฐเธ—เธดเธ‡เน„เธŸ
เธเธฃเธฐเธกเธฑเธ‡
เธเธฃเธฐเน‚เธซเน‰
เธžเธฅเธงเธ‡เธซเธดเธ™
เน€เธชเธทเธญเธ•เธญ
เธซเธกเธญเธ•เธฒเธฅ
   
  เธชเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธงเธขเธ‡เธฒเธก
 
เธ‹เธฑเธ„เน€เธเธญเธฃเนŒ
เธเธฃเธฐเธ”เธตเนˆเธซเธกเน‰เธญ
เธ›เธฅเธฒเธซเธกเธญเธชเธต
เธ›เธฅเธฒเธซเธฒเธ‡เธ™เธเธขเธนเธ‡
เธ›เธฅเธฒเธ—เธญเธ‡
เธ›เธฅเธฒเธ„เธฒเธฃเนŒเธž
เธ›เธฅเธฒเน€เธ—เธงเธ”เธฒ
เธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเธžเธฑเธ”

เธเธฃเธฐเธ”เธตเนˆเนเธ„เธฃเธฐ
เธ›เธฅเธฒเธเธฑเธ”เน„เธ—เธข
เธชเธญเธ”เนเธ”เธ‡
เธ›เธฅเธฒเธ›เธญเธกเธ›เธฒเธ”เธฑเธงเธฃเนŒ
เธ›เธฅเธฒเธเธฒเนเธ”เธ‡
เธ›เธฅเธฒเน€เธ‹เธฅเธŸเธดเธ™
เธ›เธฅเธฒเธกเน‰เธฒเธฅเธฒเธข
  เนเธซเธฅเนˆเธ‡เธฃเธงเธกเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เธ›เธฅเธฒ
  เธ›เธฅเธฒเธเธ”เน€เธซเธฅเธทเธญเธ‡
เธ›เธฅเธฒเน„เธ™ (VDO)
เธ›เธฅเธฒเธšเธถเธ (VDO)
   
  เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธ™เนˆเธฒเธชเธ™เนƒเธˆ
 

เธเธฒเธฃเธชเธฑเธ‡เน€เธเธ•เธธเธžเธคเธ•เธดเธเธฃเธฃเธกเธ‚เธญเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ—เธตเนˆเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡
เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธฅเธฒเธ”เธธเธ
เน€เธ—เธ„เธ™เธดเธ„เธเธฒเธฃเธฅเธณเน€เธฅเธตเธขเธ‡เธ‚เธ™เธขเน‰เธฒเธขเธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒ
เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เนเธšเธšเธžเธฑเธ’เธ™เธฒ
เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ‚เธญเธ‡เน„เธ—เธขเนเธšเธšเธœเธชเธกเธœเธชเธฒเธ™
เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เน„เธฃเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”
เธญเธฒเธซเธฒเธฃเธ›เธฅเธฒเน€เธžเธทเนˆเธญเธเธฒเธฃเธžเธถเนˆเธ‡เธžเธฒเธ•เธ™เน€เธญเธ‡
เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเนƒเธ™เธ™เธฒเธ‚เน‰เธฒเธง
เธŠเธตเธงเธงเธดเธ—เธขเธฒเนเธฅเธฐเธเธฒเธฃเธœเธชเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเน€เธชเธทเธญเธ•เธญ
เธฃเธงเธกเธŠเธทเนˆเธญเธงเธดเธ—เธขเธฒเธจเธฒเธ•เธฃเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ‚เธญเธ‡เน„เธ—เธข
เธ„เธงเธฒเธกเธซเธฅเธฒเธเธซเธฅเธฒเธขเธ‚เธญเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”
เธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เน€เธšเธทเน‰เธญเธ‡เธ•เน‰เธ™เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเธเธฒเธฃเธ›เธฃเธฐเธกเธ‡เธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”
เธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเนƒเธ™เธšเนˆเธญเธžเธฅเธฒเธชเธ•เธดเธ (เน€เธเธฉเธ•เธฃเธžเธญเน€เธžเธตเธขเธ‡)

  เน€เธญเธเธชเธฒเธฃเธเธฒเธฃเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธšเธดเนŠเธเธญเธธเธขเนƒเธ™เธšเนˆเธญเธžเธฅเธฒเธชเธ•เธดเธ เน‚เธ”เธขเธเธฃเธกเธชเนˆเธ‡เน€เธชเธฃเธดเธกเธเธฒเธฃเน€เธเธฉเธ•เธฃ
  เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธญเธทเนˆเธ™เน†
   
 
 
     
 
เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธทเธ” | เธšเธ—เธ„เธงเธฒเธกเธ™เนˆเธฒเธชเธ™เนƒเธˆ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเน€เธฅเธตเน‰เธขเธ‡เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ”เธธเธเธšเธดเนŠเธเธญเธธเธข | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธงเธฒเธข | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เธดเธฅ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเนเธฃเธ” | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธดเธ” | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธ”เน€เธซเธฅเธทเธญเธ‡ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ—เธฑเธšเธ—เธดเธก | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธชเธฅเธดเธ” | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ•เธฐเน€เธžเธตเธขเธ™ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธขเธตเนˆเธชเธ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธˆเธตเธ™ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเน„เธ™ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฐเธžเธ‡ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธšเธถเธ | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเน€เธ—เน‚เธž | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฒเธข | เธเธฒเธฃเน€เธžเธฒเธฐเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธเธฃเธฐเน‚เธซเน‰ | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธฅเธนเธเธ›เธฅเธฒ | เธ›เธฃเธฐเธ—เธตเธ›เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเธŸเธฒเธฃเนŒเธกเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ

© Copyright เธ›เธฃเธฐเธ—เธตเธ›เธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒ (Bestfish4u.com) เธˆเธณเธซเธ™เนˆเธฒเธขเธžเธฑเธ™เธ˜เธธเนŒเธ›เธฅเธฒเธ™เน‰เธณเธˆเธทเธ”เธ—เธธเธเธŠเธ™เธดเธ”  All rights reserved.