ปลาทับทิมก็คือปลานิลสายพันธุ์หนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แม่น้ำไนล์ของทวีปแอฟริกาตอนเหนือ
เป็นปลาที่เติบโตเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี มีความต้านทานโรคสูง
ออกลูกได้เก่งและมาก จึงมีการนำพันธุ์ปลาไปเพาะพันธุ์โดยเฉพาะในประเทศมีอาหารประเภทโปรตีนน้อย
เช่น ประเทศญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลังสงครามก็นำปลานิลสายพันธุ์ชนิดนี้นำไปขยายพันธุ์และนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อเป็นอาหารให้กับประชาชน
จนกระทั่งปี พ.ศ.2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น
ได้นำลูกปลาสายพันธุ์ปลานิล ทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดฯ ให้นำไปเพาะขยายพันธุ์ต่อภายในพระตำหนักสวนจิตรลดา
และได้พระราชทานพันธุ์ปลาชนิดนี้แก่กรมประมง เพื่อแจกจ่ายไปทั่วประเทศในชื่อ
"ปลานิลจิตรลดา" ต่อมาในปี พ.ศ.2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริให้ ธนินท์ เจียรวนนท์
ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์นำปลานิลจิตรลดาไปพัฒนาสายพันธุ์ใหม่โดยเลือกลักษณะเด่นของปลาแต่ละสายพันธุ์ที่ต้องการนำมาผสมพันธุ์จนได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่
เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเค็ม ในปี พ.ศ.2541
พระราชทานนามปลาชนิดใหม่ว่า "ปลาทับทิม" ตามลักษณะภายนอกอันโดดเด่น
คือ สีของเกล็ดและตัวปลาที่มีสีแดงอมชมพูดูเป็นมงคล
ปลาทับทิม เลี้ยงง่าย กำไรงาม
ปลาทับทิม ปลาเศรษฐกิจที่น่าเลี้ยง ปลานิลเป็นปลาที่ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ดีขึ้น
ลักษณะของปลาทับทิม เนื้อผนังช่องท้องสีขาวสะอาด ต่างจากเนื้อปลาชนิดอื่น
โดยทั่วไปจะมีผนังช่องท้องเป็นสีเทาดำ โดยมีเกล็ดและผิวหนังเป็นสีแดงซึ่งถือเป็นสีมงคล
เหมาะกับการจัดเลี้ยงเทศกาลต่างๆ ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
โดยเฉพาะการส่งออกยังต่างประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น
ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิมก็น่าสนใจไม่แพ้ปลานิลญาติผู้พี่
เริ่มจากที่ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลกับปลาหมอเทศ
ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากิน
เนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล เรียกว่า
ปลานิลแดง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์
โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม
แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของ
มันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวย เป็นสีชมพูอมแดง ซึ่งปลานิลแดงนี้
สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้ว
พบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา
ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช
2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก
โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา
ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น
เมื่อ วันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้น
ได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา
ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน
14,509 ตัว คืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป
เนื่องจากปลาทะเล ตามธรรมชาติได้ลดปริมาณลงทุกปีและมีคุณภาพเมื่อถึงมือ
ผู้บริโภคไม่คงที่ ประกอบกับกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาคุณภาพเพื่อรักษาสุขภาพมีมากขึ้น
ภาคเอกชนเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงได้ทุ่มเทงบประมาณและเวลาด้านการศึกษาพัฒนาสายพันธุ์ปลาเนื้อ
จนได้สายพันธุ์ปลาเนื้อเศรษฐกิจตัวใหม่ ในชื่อพระราชทานว่า
“ปลาทับทิม” โดยใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงในน้ำทะเล ใช้อาหารสำเร็จรูปคุณภาพสูง
มีการควบคุมคุณภาพน้ำให้เหมาะสมตลอด การเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด
ถูกสุขลักษณะ ปลาทับทิมมีคุณสมบัติพิเศษที่จะเป็นปลาเนื้อเศรษฐกิจคือ
หัวเล็ก สันหนา มีปริมาณเนื้อมากถึง 40% ของน้ำหนัก เติบโตเร็ว
เนื้อขาวแน่นละเอียด รสชาติดีมาก และมีโภชนาการสูง ปลาทับทิมจึงเป็นปลาซึ่งเกษตรกรผู้มีทุนน้อยสามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจ
ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร
ปลาทับทิมมีลักษณะเด่นที่ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงและรับประทาน
1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่น จึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น
2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา
และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์
3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์
และมีส่วนสันหนามาก
4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย
5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาว ทำให้น่ากิน
6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 ppt
7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก
8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ
ได้ดี
9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา
ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร
ปลา ทับทิมดีนั้น เป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อแน่น หวานหอม
มีโภชนาการสูง อุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ตรงนี้เอง ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์บก
อาจก่อให้เกิดการสะสมของไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิต
จึงเป็นการดีที่จะบริโภคเนื้อสัตว์น้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะเนื้อปลา
เป็นเนื้อสัตว์ที่มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ทำให้ไม่เกิดการสะสมในผนังหลอดเลือด
ลดความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคความดันโลหิตนอกจากนี้
ปลาทับทิมที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป คุณภาพสูงจะมีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว
ชนิดโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาน้ำจืด ปลาน้ำกร่อย ตามธรรมชาติทั่วไปถึง
4 เท่าอีกด้วย โอเมก้า 3 คือ กรดไขมันที่จำเป็นประเภทไม่อิ่มตัว
ซึ่งมีผลดีมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย สรรพคุณของน้ำมันปลา
(จากส่วนหัวและเนื้อปลา ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) คือ
1. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอุดตัน
2. ช่วยบำรุงสมองเสริมสร้างความจำ
3. ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมของโรคข้ออักเสบ
4. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ดังนั้น
การบริโภคปลาหรือน้ำมันปลาเป็นประจำ จึงมีผลดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ราคา ขายของปลาทับทิมในขณะนี้ (ช่วงเดือนกรกฎาคม) อยู่ที่กิโลกรัมละ
45-60 บาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2551)
ราคาขายของปลาทับทิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 45-78 บาท
ปัจจุบันนี้ได้มี การนำสายพันธุ์ปลานิลแดงจากต่างประเทศที่มีคุณภาพเนื้อสูง
และอยู่ในตระกูลเดียวกันมาผสมกับปลานิลแดง มีการคัดสายพันธุ์ให้เป็นพันธุ์แท้
ลดเปอร์เซ็นต์ของสีชมพูล้วน หรือบางตัวก็เจือสีเหลืองอ่อน
ที่ส่วนครีบทุกครีบเป็นสีแดง สายพันธุ์ปลานิลแดงพันธุ์ใหม่นี้มีความแตกต่างจากปลานิลแดงที่เด่นชัด
คือมีลำตัวหนากว่า ซึ่งหมายถึงการมีเนื้อมากกว่าและคุณภาพของเนื้อมีความหวานและนุ่ม
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนหัวเล็กกว่า ได้มีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลานิลแดงนี้ในกระชังตามริมแม่น้ำ
เพื่อให้ได้ผลผลิตปลาที่สะอาดและปราศจากโคลน ทั้งนี้เพราะมีเป้าหมายในการส่งออกปลานิลแดงไปยังต่างประเทศ
และเนื่องจากปลาพันธุ์นี้ มีลำตัวเป็นสีแดงชมพู สมกับชื่อว่า
ปลาทับทิม ซึ่งคุณภาพของเนื้อแตกต่างจากปลานิลอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนั้น ยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย อดทน โตเร็ว และมีน้ำหนักมาก
|